วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พระสมเด็จหลวงพ่อเชื้อ วัดสะพานสูง กทม.

หลวงพ่อเชื้อ? อนุวชิโร? เกจิผู้มีวิชาไสยเวทย์ครบครันและเป็นเกจิผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในยุคกึ่งพุทธกาล? แห่งวัดสพานสูง? บางซื่อ? เป็นเกจิผู้ซึ่งสร้างพระกริ่งแล้วนำไปแจกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ? ทหารและพลเรือนที่ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติเป็นองค์แรก? แล้วพระกริ่งวัดสะพานสูงที่นำไปแจก ก็ไม่ได้สร้างความผิดหวังแต่อย่างใดแก่ผู้ใช้? กลับได้รับประสบการณ์มากมายในสนามรบ? เป็นผลให้มีผู้รู้จักศรัทราและเสาะหากันมาก




นอกจากพระกริ่งแล้วหลวงพ่อยังได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ ขึ้นอีกหลายพิมพ์? โดยท่านจะปั้มตราลายเซ็นต์ของท่าน และชื่อวัดสพานสูงไว้ที่ด้านหลังของพระสมเด็จเนื้อผงทุกพิมพ์ทุกองค์? พระสมเด็จชุดนี้โดยทางทฤษฎีแล้ว รวมทั้งความเข้าใจของนักเล่นพระส่วนมาก จะคิดว่าสมเด็จของท่านสร้างขึ้นในปี? 2505? แต่ความจริงแล้วท่านได้ทยอยสร้างพระสมเด็จขึ้นเรื่อย ๆ? ตั้งแต่ปี? 2497? จนมาถึงปี? 2505? หลังจากที่ฉลองกรุง? 25? พุทธศตวรรษได้? 5? ปี? ท่านได้จัดสร้างสมเด็จขึ้นอย่างเป็นทางการจำนวน? 2? พิมพ์คือ? พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่และ พิมพ์ฐานคู่ขนาดธรรมดามาตรฐานเท่ากับสมเด็จวัดระฆัง? แต่ผู้ที่ไม่รู้จริง ๆ? จะเหมาเอาว่าพระทุกพิมพ์ของท่านสร้างขึ้นในปี? 2505



พระสมเด็จของท่านทุกพิมพ์เป็นพระดีน่าใช้มาก? สนนราคาเช่าหายังไม่สูงมากนักเว้นแต่พิมพ์พิเศษแปลก ๆ ที่หายาก? เช่น? พิมพ์เจดีย์พระพุทธคยา? พิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา? พิมพ์พระสิวลีฯ? โดยขอให้เลือกเล่นเฉพาะชนิดที่มีตราปั้มด้านหลังเท่านั้น? จัดเป็นพระดีอนาคตสดใส? ปัจจุบันผู้คนนิยมเล่นมากราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลาและยังถูกบรรจุไว้ในรายการตามงานประกวด

พระกรุวัดคู้สลอด

ชาววงการพระเครื่องพูดกันเสมอๆ ว่า "ใครมีพระวัดคู้สลอด ก็เหมือนมีพระหลวงพ่อปาน" หรือ "หากหาพระหลวงพ่อปานไม่ได้ ก็หาพระวัดคู้สลอดใช้แทน" เพราะพระกรุนี้สร้างโดยพระอาจาย์พงษ์ แห่งวัดคู้สลอด เมื่อปี 2470 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ตามคติความเชื่อแต่โบราณและเพื่อแจกลูกศิษย์ลูกหา โดยมอบให้ หลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ปลุกเศกอีกครั้งหนึ่ง



พระกรุวัดคู้สลอดนี้แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2506 พุทธลักษณะพิมพ์สไตล์เดียวกับพระเครื่องทรงสัตว์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มีหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์ทรงไก่ พิมพ์ทรงหนุมาร พิมพ์ทรงเม่น พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์พระสมเด็จแบบ 7 ชั้นและแบบ จันทร์ลอยฯ



ส่วนเนื้อหานั้นแตกต่างกับหลวงพ่อปาน คือ พระเครื่องของหลวงพ่อปาน เป็นเนื้อดิน ส่วนของท่านอาจารย์พงษ์ เป็นพระเนื้อผงน้ำมันสำหรับเนื้อผงน้ำมันของพระวัดคู้สลอดนี้ ถ้าพระยังไม่ใช้มาหรือผ่านการเก็บมาดีจะมีสีเหลืองอมขาว แต่ถ้าผ่านการใช้มาผิวจะมันเนื้อหาแลดูจัด ในด้านพุทธคุณนั้นจัดได้ว่าครบเครื่อง สามารถแขวนเพื่อหวังพึ่งพาพุทธคุณได้อย่างหายห่วง อีกทั้งเป็นพระที่อนาคตไกล ในภายภาคหน้าราคาจะต้องขึ้นสูงอย่างแน่นอน เพราะวงการให้ความสำคัญเล่นหากันมาก และพระชุดนี้ได้ถูกบรรจุเข้าในรายการประกวดทุกๆงาน แบบที่เรียกว่างานไหนไม่มีพระชุดนี้ประกวดก็เชยเต็มที่รู้อย่างนี้แล้วท่านจะไม่รีบเก็บไว้บ้างหรือครับ

พระหลวงปู่ศุขพิมพ์แจกแม่ครัว

ผู้สร้างคือหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่าเ จังหวัดชัยนาท ท่านเกิดในปี พ.ศ.2390 ที่ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท โยมบิดาชื่อ น่วม โยมมารดาชื่อ ทองดี เมื่ออายุได้ 10 ขวบก็ได้มาอยู่กับลุงของท่านที่อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดนนทบุรี ต่อมาได้อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2415 ที่วัดโพธิ์ทองล่าง ตำบลบางเขน นนทบุรี โดยมีพระครูเชย จันทสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับนามฉายาว่า "เกสโร" หลังจากท่านบวชได้ระยะหนึ่งท่านก็ได้ออกธุดงค์ ไปในที่ต่างๆ เพื่อฝึกวิปัสสนากรรมฐานและได้พบกับพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณหลายองค์ เท่าที่ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังก็พอสืบความได้ว่า มีพระอาจารย์โพงโพธิ์ กาญจนบุรี หลวงพ่อลา พิจิตร หลวงพ่อรอดเสือ พระพุทธบาท ฯลฯ ท่านออกธุดงค์ได้ประมาณ 15 ปี จึงได้กลับมาปักกลดที่บริเวณวัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้างและถามหาโยมของท่าน เมื่อท่านได้เจอกับโยมของท่านแล้ว โยมท่านจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง (วัดปากคลองมะขามเฒ่าในปัจจุบัน) ท่านจึงได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์สร้างกุฏิสงฆ์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านวัดจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ และมีพระมาจำพรรษามากมาย




หลวงปู่ศุข ท่านเป็นพระที่โด่งดังมากและเป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วัตถุมงคลของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านสร้างไว้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2435-พ.ศ. 2466 นอกจากเหรียญปี พ.ศ. 2466 และพระสี่ เหลี่ยมพิมพ์ต่างๆ แล้ว วัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกไว้ยังมีอีกมาก เช่น ตะกรุด เสื้อยันต์ ลูกประคำมือ ซึ่งปัจจุบันนั้นหาได้ยากยิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี พระปรกใบมะขาม เหรียญเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เหรียญชินราช วัดโพธาราม เหรียญหลวงพ่อพุทธธรรมจักร รูปถ่ายกรอบกระจก พระพิมพ์แจกแม่ครัว เนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง เนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาพิมพ์กรมหลวง พระปิดทวารเนื้อตะกั่วพิมพ์แขนชิด พระปิดทวารเนื้อตะกั่วพิมพ์ห้าเหลี่ยม เป็นต้น
พระหลวงปู่ศุขพิมพ์แจกแม่ครัว เป็นอีกพิมพ์ที่เล่นหาเป็นมาตรฐานแน่นอนว่าชัวร์และใช่พระหลวงปู่ศุข สร้างด้วยเนื้อผงคลุกรัก มูลเหตุในการสร้างนั้นท่านสร้างเพื่อแจกบรรดาแม่ครัวที่มาช่วยงานวัดเมื่อคราวงานศพโยมมารดาของท่าน
เนื้อหาของพระพิมพ์นี้เป็นเนื้อผงคลุกรักและเป็นเนื้อพระชนิดเดียวกับพระปิดตาพิมพ์พุงป่อง จึงสันนิษฐานได้ว่าคงจะสร้างพร้อมๆกัน เนื้อพระมีสีออกน้ำตาลเข้มและเกือบดำก็มี ด้านหน้าเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมมีเส้นกรอบสามเหลี่ยม ตรงกลางมีพระพุทธปางสมาธิบนฐานหมอน
พุทธคุณเด่นทางเมตตาโชคลาภ อยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด สนนราคาสูงอยู่ในหลักหลายๆหมื่น ผู้ที่สนใจต้องระวังเนื่องจากของปลอมเลียนแบบมีมากครับ

พระผงหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

วัดศรีรัตนาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันทั่วไปว่า ?วัดบางพัง? ตั้งอยู่ เลขที่ 39 บ้านคลองบางพัง ซอยสวัสดี หมู่ที่ 2 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดโบราณสร้างครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ. 2305


พระผงหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี ปี2484
ไม่ทราบนามผู้สร้าง ชาวบ้านนิยมเรียกขานนามวัดว่า ?วัดบางพัง? ตามนามท้องที่ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี สาเหตุที่ชื่อวัดบางพัง ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เพราะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากัดเซาะพื้นดินริมตลิ่งแถบบริเวณนั้นพังเข้ามามากเป็นบริเวณกว้างมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จึงได้เรียกกันว่าตลิ่งพังแล้วและกลายมาเป็นบางพังในที่สุด วัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีทางรถยนต์ตัดเข้าถึงวัดทำให้การคมนาคมไปมาหาสู่กันสะดวก
เจ้าอาวาสเท่าที่สืบทราบได้จำนวน 4 รูป คือ

รูปที่ 1 พระอธิการเริญ

รูปที่ 2 หลวงพ่อแฉ่ง ศิลปัญญา

รูปที่ 3 พระอธิการประมวล ปวัฑฒโน

รูปที่ 4 พระอธิการอินทร์ อกตมโล เจ้าอาวาสปัจจุบัน (ปี31)

หลวงพ่อแฉ่งท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีอาคมขลัง มีพลังทางจิตแก่กล้า เป็นพระปฏิบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นศิษย์หลายสายหลายสำนักด้วยกัน และเป็นศิษย์ในหลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.อยุธยาด้วย (ได้รับอิทธิพลพระพิมพ์ทรงสัตว์จากหลวงพ่อปาน) ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้จึงทำให้วัดบางพังในอดีตคึกคัก มีผู้คนเดินทางมาจากถิ่นใกล้และไกล มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อแฉ่งเป็นอันมาก บางคนก็มาขอวัตถุมงคล บางคนก็มารักษาโรค บางคนก็มาปรึกษาความและเรื่องราวร้อยแปด เพราะเขาเหล่านั้นเห็นว่าหลวงพ่อท่านช่วยได้ ผู้ที่ไปขอเรียนคาถาอาคม หลวงพ่อท่านจะให้ฝึกจิตบังคับใจเรื่องสมถวิปัสนากรรมฐานก่อน เมื่อเห็นว่าพอจะใช้ได้ไปไหว จึงจะให้นิสัยธรรมข้อหนึ่งที่หลวงพ่อมักจะอบรมสั่งสอน (เข้าใจว่าคุณธรรม) หลังจากนั้นจึงจะบอกตัวคาถาและเคล็ดวิชาต่าง ๆ ให้ การเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อนั้น ท่านมิใช่แต่เพียงให้ศิษย์เรียนผูกเท่านั้น ท่านยังให้ศิษย์เรียนแก้ด้วย ครบถ้วนกระบวนการ คือ เพื่อป้องกันแก้ไขคนที่มีทุกข์ถูกของถูกคุณให้พ้นภัย เป็นต้น
หลวงพ่อแฉ่ง มรณะภาพราว ปี2502 ศพของท่าน สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม โปรดให้นำมาฌาปณกิจที่วัดมกุฎฯ และในงานศพของหลวงพ่อแฉ่งก็ได้แจกเหรียญรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเป็นของที่ระลึกด้วย
การสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อแฉ่งท่านสร้างวัตถุมงคลไว้หลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน มีทั้งพระเนื้อผง พระเนื้อดินเป็นรูปพระรอดองค์เล็ก ๆ, ตะกรุด, ผ้ายันต์ธง และทรายเสก เป็นต้น แต่ในตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพระเนื้อผงเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไป มูลเหตุในการจัดสร้าง บรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดที่ศรัทธาในจริยวัตรของหลวงพ่อพร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อสร้างอิทธิวัตถุ เพื่อเป็นของที่ระลึก และคุ้มครองป้องกันตน ประกอบกับในระยะนั้นมีเค้าของสงครามจะปะทุระเบิดขึ้น ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาวัตถุมงคลเอาไว้คุ้มกันตัว และเพื่อตอบแทนชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุสิ่งต่าง ๆ ภายในวัด
หลวงพ่อแฉ่งได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นในปี พ.ศ.2484 แจกให้ศิษย์และชาวบ้านที่ศรัทธามาขอพระจากท่านเพื่อนำไปคุ้มครองป้องกันตัว จำนวนในการจัดสร้าง วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างขึ้นมีจำนวนเท่าไร ไม่มีใครทราบ เพราะมิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการทยอยสร้างทยอยปลุกเสก กล่าวคือพอสร้างได้จำนวนมากพอสมควรแล้วท่านก็จะทำพิธีปลุกเสกเสียคราวหนึ่ง เป็นการปลุกเสกเดี่ยว จากนั้นจึงนำมาแจกเสียคราวหนึ่ง จำนวนพระทั้งหมดที่สร้าง หลายท่านยืนยันว่าไม่ถึง 84,000 องค์ สันนิษฐานกันว่าประมาณหนึ่งหมื่นองค์เศษ ๆ เห็นจะได้ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้น แจกฟรี ไม่มีการเช่าบูชาเหมือนปัจจุบัน ส่วนใครจะศรัทธาบริจาคทรัพย์ทำบุญให้วัดจำนวนเท่าไหร่ เป็นเรื่องของศรัทธาและกำลังทรัพย์ของแต่ละท่าน พระหลวงพ่อแฉ่งใช้ดีด้านไหน วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสกนั้น มีประสบการณ์เป็นที่โจษขานไปทั่วตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ ด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ทางด้านเมตตามหานิยมก็ไม่เบาเช่นกันนอกจากนี้ยังใช้เป็นพระหมอแบบพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคได้อีกด้วย
ลักษณะและสีของเนื้อพระ พระเนื้อผงที่หลวงพ่อแฉ่งสร้างขึ้นเป็นเนื้อประเภทปูนปั้นไม่ได้เผาไฟ ส่วนผสมหลักคือปูนขาวจากเปลือกหอยและน้ำมันตังอิ๊ว นอกนั้นก็เป็นผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถะมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห นอกนั้นก็มีเกสรดอกไม้ที่ชื่อเป็นมงคลนาม ทรายเสก และข้าวสุก เป็นต้น การโขลกตำเนื้อพระและส่วนผสมตลอดจนการกรองผงมีความประณีตบรรจงมาก เนื้อละเอียดเนียนเข้ากันสนิท การแยกพิมพ์ทรง พระเนื้อผงที่หลวงพ่อสร้างมีกี่แบบกี่พิมพ์ไม่มีใครตอบได้ ทางวัดก็ไม่มีเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ส่วนใหญ่ก็รู้เท่าที่ตัวเองมีอยู่ และหนังสือลงข้อมูลกันไว้ หากจะแยกย่อยออกไปจริง ๆ น่าจะมีมากกว่า 30 พิมพ์ แม้ว่าพิมพ์หลัก ๆ จะมีอยู่ประมาณ 10 พิมพ์ แต่ในพิมพ์หลัก ๆ นั้นก็ยังแยกย่อยออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น พิมพ์สามเหลี่ยมทรงหงส์ พิมพ์สมเด็จสามชั้น พิมพ์สมเด็จทรงหนุมาน พิมพ์สมเด็จทรงหงส์ เป็นต้น ปัจจุบันเข้าสนามว่าหาของแท้ของท่านยากแล้ว ให้แท้และสวยยิ่งยากเป็นเท่า ๆ ตัว

พระหลวงปู่ศุข กรุวัดคลองขอม

พระกรุนี้เป็นพระกรุเก่าที่มีอายุการสร้างเกือบ 100 ปี โดย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ ได้ร่วมกันกับหลวงพ่ออุ่ม แห่งวัดคลองขอม เกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองสุพรรณฯ จัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2460? โดยนำใบลาน ผงวิเศษและมวลสารต่าง ๆ มากมายที่พระอาจารย์ทั้งสอง ได้เก็บรวบรวมไว้มา จัดสร้างเป็นพระเนื้อผง 2 พิมพ์คือ พิมพ์พระสมเด็จรัศมีและพิมพ์พระปิดตา โดยแบ่งแยกได้ 2 สีหลัก ๆ คือ สีดำ และสีขาว ส่วนสีแดงและสีชมพูก็มีแต่หาดูยากกว่าสองสีแรกหลังจากจัดสร้างเรียบร้อยแล้ว ได้ทำการพิธีพุทธาภิเษกอย่างเข้มขลังมาก เพราะเป็นการร่วมกันปลุกเศกระหว่าง 2 เกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์ คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่ออุ่ม วัดคลองขอม




เมื่อปลุกเศกเรียบร้อยแล้วได้นำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชี ใต้พระประธานโบสถ์และเจดีย์หลังโบสถ์วัดคลองขอม กาลเวลาเนิ่นนานมา พระจึงได้แตกกรุออกมาเมื่อปี 25254 พระได้กระจัดกระจายไปทั่วทุกสารทิศ ผู้ใช้มีประสบการณ์มากมาย ขนาดเซียนใหญ่ ๆ เมืองสุพรรณยังเลือกหาบูชาคู่กาย จัดเป็นของดี ราคายังพอเสาะหาได้แต่อย่าประมาทเพราะนักเล่นหลายท่านเห็นเป็นของ ราคาไม่สูงมากจึงนึกว่าไม่มีของทำเทียมเลียนแบบ แต่จริง ๆ แล้วของทำเทียมมีมากมายในสนามพระ