วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลังคลอด

1.ให้ลูกดูดนมตามต้องการ



ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะดูดบ่อยแค่ไหน หรือนานแค่ไหนในแต่ละครั้ง เด็กแต่ละคนมีอุปนิสัยและความต้องการต่างกัน ให้ลูกเป็นผู้กำหนดเองว่ามีความต้องการแค่ไหน อย่างไร เด็กบางคนดูดเร็ว อิ่มเร็ว นอนนาน บางคนดูดแล้วหลับ ดูดบ่อย ทุกช.ม. หรือบางครั้งห่างกันแค่ครึ่ง ช.ม. ก็เป็นได้ บางคนถ่ายบ่อยทุกครั้งที่ดูดนม ถ่ายวันละ 7-8 ครั้ง บางคนถ่ายวันละ 2-3 ครั้ง หรือบางคนสองสามวันถ่ายครั้งหนึ่งก็มี



ช่วงหนึ่งหรือสองเดือนแรก จะเป็นช่วงที่ทารกปรับตัว การกิน การนอน การถ่าย อาจจะไม่เหมือนกันสักวัน แต่พออายุมากขึ้น จะเริ่มเข้าที่และเป็นเวลามากขึ้น แต่ถึงกระนั้นในบางครั้ง บางวันความถี่-ห่างในการดูดนมก็อาจเปลี่ยนแปลงได้



คุณแม่ไม่ควรนำความรู้ที่เคยอ่านในตำราว่าลูกต้องกินวันละกี่ครั้ง ครั้งละกี่ออนซ์ นอนวันละกี่ช.ม. ถ่ายวันละกี่ครั้ง มาเป็นเรื่องกังวลเมื่อ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เด็ดขาด เพราะการพยายามจะฝึกให้ลูกทำอะไรเป็นเวลาแบบนั้น นอกจากไม่มีประโยชน์ แล้วยังสร้างความเครียดให้กับคุณแม่ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตน้ำนมน้อยลงอีกด้วย



อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นในเด็กที่ชอบนอนมากๆ นอนนานๆ ไม่ค่อยตื่นมากินนม ถ้าเป็นลักษณะนี้ ควรปลุกลูกขึ้นมากินนมบ่อยขึ้น



2. ทานอาหารให้ครบ และหลีกเลี่ยงการอดอาหารเพื่อการลดน้ำหนัก



คุณแม่ที่ให้นมลูก ควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เหมือนกับตอนที่ตั้งครรภ์ และควรดื่มน้ำหรืออาหารประเภทน้ำมากๆ เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตน้ำนม คุณแม่สามารถรู้ได้ว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ โดยสังเกตจากสีของปัสสาวะว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นสีเหลืองอ่อนจนเกือบใส แสดงว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าทานน้ำน้อยไป



คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใช้นมผสม จะลดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร เพราะการให้นมลูก ร่างกายจะใช้พลังงานมากกว่าปกติอยู่แล้ว



อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนแรก คุณแม่ไม่ควรทานอาหารรสจัด และพยายามสังเกตอาหารที่ตนเองทานว่าส่งผลอย่างไรกับลูก เพราะอาหารบางชนิดอาจทำให้ลูกไม่สบายท้อง หรือถ่ายผิดปกติไปจากที่เคยเป็น ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ควรหลีกเลี่ยง จนกว่าลูกจะอายุมากขึ้น ค่อยเริ่มใหม่ทีละน้อย เมื่อเด็กอายุมากขึ้น ระบบย่อยก็จะทำงานได้ดีขึ้น คุณแม่ก็สามารถทานอาหารได้หลากหลายตามต้องการมากขึ้น แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์



พักผ่อนมากๆ และหาผู้ช่วยในการทำงานบ้าน
ช่วงสองสามอาทิตย์แรก การดูแลบ้าน ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสามี หรือหาผู้ช่วยมาทำแทน สิ่งที่คุณแม่ควรจะทำ คือ การทำความคุ้นเคยกับลูก และฝึกฝนการให้นมลูกอย่างถูกต้อง ทุกครั้งที่ลูกหลับ คุณแม่ก็ต้องพักผ่อนไปพร้อมกันด้วย เพราะถ้าคุณแม่มีการพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้ไม่เต็มที่



ไม่ควรพูดคุยหรือใส่ใจกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะคำพูดบางอย่างจากความไม่รู้ของคนเหล่านั้น จะทำให้คุณแม่ท้อถอย และหมดกำลังใจได้ง่ายๆ



หากมีปัญหาในการให้นมแม่
ถ้าคุณแม่มีปัญหาใน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรรีบปรึกษาพยาบาล แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที ยิ่งคุณแก้ปัญหาในการให้นมลูก ได้เร็วเท่าไหร่ เท่ากับว่าเป็นการดีกับลูกคุณมากขึ้นเท่านั้น คุณแม่หลายรายพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งเพียงแต่แก้ ไขด้วยการปรับท่าให้นมลูกหรือท่าการดูดนมของลูกให้ถูกต้องเท่านั้น ก็ประสบความสำเร็จในการให้นมลูกเป็นอย่างดี



ติดต่อ คลีนิคนมแม่



4. เตรียมตัวเพื่อกลับไปทำงาน



ถ้าต้องกลับไปทำงานประจำ หรือมีความจำเป็นที่ต้องแยกจากลูกในบางเวลา คุณแม่ต้องเตรียมตัวสะสมน้ำนมเพื่อเป็น stock ไว้ตอนที่ต้องกลับไปทำงาน หรือแยกจากลูก การทำ stock น้ำนมนั้น จะใช้วิธีบีบด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊มก็ได้ ยิ่งเริ่มต้นสะสมน้ำนมให้ลูกได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม "มาทำ stock น้ำนมกันเถอะ"