ชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็มีการอภัยโทษแก่ผู้แปรพักตร์จากพคท. เป็นการสานต่อนโยบายของพลเอกเกรียงศักดิ์ ซึ่งที่จริงแล้ว พคท.ก็กำลังตกต่ำและแตกกันเป็นเสี่ยงๆ ดังนั้นพลเอกเปรมจึงดูประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
แต่ที่สำคัญคือคำสั่งเหล่านี้ ทำให้กองทัพมีบทบาทครอบงำทั้งในการบริหารประเทศและสังคม เพราะคำสั่งดังกล่าวสร้างความชอบด้วยกฎหมายและความชอบธรรมแก่กองทัพในการก่อร่างระบบการเมือง “ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง” กองทัพจะปฏิบัติการ “รุกทางการเมือง” เพื่อสร้างความยุติธรรมทางสังคมและขจัดรากเหง้าการทุจริตและการเอารัดเอาเปรียบมันเป็น “ภารกิจศักดิ์สิทธิ์” ของพวกเขาที่จะต้องเผชิญหน้ากับทั้งพลังราชการพลเรือนและทุนนิยมผูกขาดที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาล นี่คือการรัฐประหารเงียบอย่างแท้จริงในปี 2523 คำสั่งทั้งสองฉบับประกาศการสนับสนุนรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข แต่ภายในกรอบนี้ รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาไม่ได้ถูกนำมาใช้ขณะที่ในหลวงกับพลเอกเปรมกุมอำนาจผ่านกองทัพ ขณะที่กองทัพได้อำนาจตามกฎหมายตามประกาศคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยพลเอกเปรมที่ทำให้กองทัพมีอำนาจเหนือทั้งรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ จะเป็นรองก็แต่เพียงวังเท่านั้น
พลเอกเปรมไม่ได้มีแผนที่ชัดเจนนักว่าจะทำอย่างไรกับอำนาจก็ได้มา
นอกจากการจัดความสัมพันธ์ของวังกับกองทัพ พลเอกเปรมใช้เวลาส่วนใหญ่ในสี่ปีแรกไปกับการปกป้องเก้าอี้ของตนเอง ซึ่งต้องอาศัยวังตลอดเวลา เหตุการณ์แรกเกิดในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากพลเอกเปรมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2523 โดยควบทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมและผบ.ทบ.ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติมาก เพราะหลังจากยุคเผด็จการถนอม-ประภาสแล้ว การควบตำแหน่งอย่างนี้เป็นสิ่งต้องห้ามในช่วงปฏิรูปปี 2517-18หลังการโค่นล้มสามทรราช แต่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯเห็นดีเห็นงามโดยมิได้ทรงขัดข้องแต่ประการใด มีเสียงบ่นพึมพำกันทั่วไป แต่ก็ยอมๆกันไปเพราะว่าพลเอกเปรมกำลังจะเกษียณจากกองทัพอยู่แล้วเมื่ออายุถึง 60 ในเดือนตุลาคมปีนั้น
แต่พอปลายสิงหาคม2523 นายทหารระดับสูงที่นำโดยพล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก นายทหารดาวรุ่งและขวัญใจคนโปรดของพระราชินีสิริกิติ์ได้เรียกร้องให้ต่ออายุราชการของพลเอกเปรมไปอีกหนื่งปี พล.ต.อาทิตย์ผู้วางตนเองเป็นทายาทของพลเอกเปรม ต้องการสกัดคู่แข่งที่อาวุโสเหนือกว่าตนคือรองผบ.ทบ.พล.อ สัณห์ จิตรปฏิมา การต่ออายุราชการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้เสียระบบราชการ แม้แต่สมาชิกในรัฐบาลของพลเอกเปรมก็ยังไม่เห็นด้วยและเตือนว่าการต่ออายุราชการแบบเดียวกันนี้ให้กับพลเอกประภาสได้มีส่วนนำไปสู่การลุกฮือในปี 2516 แต่ในวันที่ 1 กันยายน 2523 พลเอกเปรมก็กลับออกมาจากการเข้าเฝ้าในหลวงและประกาศว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการต่ออายุราชการให้เขา เมื่อรัฐมนตรีเรียกร้องขอข้อพิสูจน์ พวกเขาก็ถูกเรียกให้เข้าเฝ้าในหลวง แล้วพวกเขาก็กลับออกมาและสนับสนุนการต่ออายุราชการให้พลเอกเปรม
มีนักการเมืองหนุ่มบางส่วนไม่ยอมเงียบ เช่น นายชวน หลีกภัย สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่บอกว่าการต่ออายุราชการเป็นการสวนทางประชาธิปไตย และยังเติร์กบางส่วนก็คัดค้านด้วยเช่นกัน แม้จะเป็นเพราะว่าพวกเขาต่อต้านพล.ต.อาทิตย์เป็นหลักก็ตาม รวมทั้งขบวนนักศึกษาที่ฟื้นจากการหลับไหลได้ออกมาทำการประท้วงเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ต้องหยุดไปเมื่อได้รับการข่มขู่จากหัวหน้ากระทิงแดงพล.ต.สุตสายที่ประกาศว่า “ผมต้องการให้คนรู้ว่าผมเป็นบุคคลอันตราย”
ทรงมีพระบรมราโชวาทในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเดือนธันวาคมปี 2523 สนับสนุนพลเอกเปรมด้วยการวิจารณ์พวกนิยมประชาธิปไตยว่า“ผู้มีสติปัญญาบางคนพัฒนาทฤษฎีที่มักจะหยิบยืมมาจากต่างประเทศ ใช้คำวา“หยิบยืม”เพราะว่าไม่ใช่ของเรา นักวิชาการยืมเทคโนโลยีและพยายามทำให้มันประสบผลสำเร็จในประเทศไทย เพื่อจะได้รับการชื่นชมว่าเก่งกาจที่สามารถใช้เทคโนโลยีและทฤษฎีที่ไม่ใช่ของไทยได้” เท่ากับว่าทรงประกาศสนับสนุนพลเอกเปรมอย่าง