เต็มที่
ในการบริหารประเทศ พลเอกเปรมมุ่งที่การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ คำสั่ง 66/2523 ทำให้พคท.พ่ายแพ้เร็วขึ้นและพลพรรค พคท.ก็หลั่งไหลออกจากป่านับพันคน ถึงปี 2524 พคท.ก็สิ้นพิษสง เหลีอเพียงแต่เป็นหย่อมๆในภาคใต้ตอนล่างและรอบๆเขาค้อในตอนล่างของภาคเหนือ เดือนมกราคม 2524 มีการประกาศว่าในหลวงมีโครงการส่วนพระองค์พัฒนาแม่น้ำที่เขาค้อ โดยมีพล.ท.พิจิตร กุลละวณิชย์ ลูกน้องของพลเอกเปรม จัดการเปิดฉากการรบยุทธการเขาค้อ ในเขตป่าเขารอยต่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลกและจังหวัดเลย มีฐานที่มั่นอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เรียกชื่อตามพื้นที่ว่า เขาค้อ ภูร่องกล้า ภูขัด โดยระดมสรรพกำลังทั้งภาคอากาศและภาคพื้นดินเป็นเวลาห้าเดือนเพื่อกวาดล้างพวกคอมมิวนิสต์ให้ออกจากบริเวณนั้น ทั้งๆที่พคท.กำลังจะพ่ายแพ้อยู่แล้ว มันจึงเป็นการลงทุนลงแรงที่มากเกินจำเป็น รัฐบาลสูญูเสียกำลังพลไป 1,300 นายและเทือกเขาก็โล้นเลี่ยนไปเป็นแถบๆ
ในระหว่างนั้นที่กรุงเทพฯ พลเอกเปรมก็ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดทางการเมืองเพราะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากเป็นรัฐบาลได้ไม่ถึงปี พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็เริ่มแตกแถวโวยวายจากการที่ไม่ได้ประโยชน์ที่คุ้มกับการให้การสนับสนุนพลเอกเปรม และรัฐบาลยังมีเรื่องทุจริตอื้อฉาวอีกหลายกรณี ยิ่งกว่านั้นประชาชนก็มีปฏิกริยาด้านลบ โดยพลเอกเปรมจะขอต่ออายุราชการในฐานะผบ.ทบ.อีกปีหนึ่งเมื่อต้นปี 2524 รัฐมนตรีหลายคนลาออกเพื่อดูเชิง ขณะที่มรว.คึกฤทธิ์ที่ยังหวังจะนั่งเก้าอี้นายกอีกครั้งก็ถอนพรรคกิจสังคมออกจากการร่วมรัฐบาล
แต่พลเอกเปรมไม่ยอมถอย และได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยดึงพรรคการเมืองปีกขวา-และพวกทหารเข้ามาร่วม โดยเสนอชื่อพล.ต.สุตสายกับเพื่อนคนหนึ่งคือพล.อ. ประจวบ สุนทรางกูรเป็นรัฐมนตรี ซึ่งทำให้เกิดความวิตกไปทั่วว่าพวกขวาตกขอบแบบช่วงปี 2519-2520 จะหวนกลับมาอีก ในหลวงทรงเห็นชอบกับรายชื่อคณะรัฐมนตรีทันที ต่อมาไม่นาน ในคืนวันที่ 31 มีนาคม 2524 นายทหารกุมกำลังจำนวนมากของกองทัพพยายามก่อรัฐประหารที่เรียกกันว่า กบฏเมษาฮาวาย เป็นช่วงเวลาวิกฤติที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างในหลวงและพลเอกเปรมเปรมได้ลงหลักอย่างมั่นคง
กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย เป็นการก่อกบฏเมื่อวันที่ 1 เมษายน - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 เพื่อยึดอำนาจการปกครองของพลเอกเปรม ผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารซึ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือที่เรียกว่ารุ่น ยังเติร์ก ได้แก่ พันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร พันโทพัลลภ ปิ่นมณี โดยมี พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะได้เริ่มก่อการเมื่อเวลา 2.00 น. ของวันที่ 2 เมษายน โดยจับตัว พลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลโทหาญ ลีนานนท์ พลตรีชวลิต ยงใจยุทธ และพลตรีวิชาติ ลายถมยา ไปไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ
พลเอกเปรม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจาก พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2 การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการต่อสู้กัน โดยเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วเหมือนฝันหรือเป็นแค่การแสดง ประจวบกับเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนตรงกับวันเอพริลฟูลส์ ซึ่งตามธรรมเนียมฝรั่ง ถือเป็นวันที่ให้โกหกใส่กันได้ จึงได้อีกชื่อหนึ่งในเชิงเหยียดหยันจากสื่อมวลชนว่า กบฏเมษาฮาวาย ผู้ก่อการเดินทางออกนอกประเทศ พันเอกมนูญ รูปขจร ลี้ภัยที่ประเทศเยอรมนี ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษได้รับนิรโทษกรรมทางการเมือง และได้รับการคืนยศทางทหารในเวลาต่อมาภายหลังเหตุการณ์ พลตรีอาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญคุมกำลังทหารต่อต้าน ได้รับความไว้ใจจากพลเอกเปรม ได้เลื่อนเป็นพลโท เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ใน 6 เดือนต่อมา
ยังเติร์กเป็นกลุ่มทหารที่จบโรงเรียนนายร้อยในปี 2503 หรือจปร.7 ที่มีความมั่นใจและเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่นเพราะหลายคนมีประสบการณ์สู้รบในลาวและเวียตนาม ทำให้พวกเขาเป็นมืออาชีพมากกว่าทหารกลุ่มอื่นในกองทัพ โดยเฉพาะคู่ปรับคือรุ่นจปร.5 การสนับสนุนพลเอก