วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ต่อ

รัฐบาลเล่นงานกันเอง ด้วยการสนับสนุนอย่างเงียบๆจากวัง ในเดือนมกราคม 2526 พลเอกเปรมขยับที่จะทำให้โครงสร้างตามบทเฉพาะกาลกลายเป็นโครงสร้างถาวรด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเผชิญการต่อต้านที่รุนแรงอย่างคาดไม่ถึงในสภาและจากนายพลหัวก้าวหน้าบางส่วน คนสนิทของพลเอกเปรมคือพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ก็ออกมาขู่ว่าอาจจะมีการเอ็กเซอร์ไซส์หรือการตบเท้าสำแดงกำลังหากกองทัพไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ

พระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงการสนับสนุนด้วยการโปรดเกล้าฯประกาศประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาที่เต็มไปด้วยทหารได้สร้างความอุ่นใจว่าการแก้ไขจะผ่านวาระที่หนึ่งและสองแน่ ซึ่งต้องการเพียงเสียงข้างมากของทั้งสองสภาเท่านั้น วาระที่สามกำหนดเป็นวันที่ 16 มีนาคม2526 จำต้องอาศัยเสียงสองในสาม ถึงตอนนั้นก็มีเสียงคัดค้านกันทั่วไปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ล้มไปอย่างเฉียดฉิว แต่พลเอกเปรมมีแผนสำรอง ซึ่งต้องอาศัยการหาจังหวะเวลาที่เหมาะพอดีที่จะทำให้การสนับสนุนของพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์ชัด ระยะเวลาตามบทเฉพาะกาลจะสิ้นสุดในวันที่ 21 เมษายน 2526 ด้วยการรับลูกจากพลเอกเปรม พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม 2526 และกำหนดเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน 2526 หมายความว่ารัฐบาลใหม่จะจัดตั้งขื้นมาภายใต้กติกาหรือตามบทเฉพาะกาลเดิม โดยมีวาระถึงสี่ปี อำนาจกองทัพก็จะยืดยาวต่อไปอีก

แผนนี้กลายเป็นประเด็นในระหว่างการรณรงค์หาเสียง พรรคประชาธิปัตย์กับกิจสังคมให้ความหมายแก่การเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกระหว่างประชาธิปไตยและเผด็จการทหารซึ่งหมายถึงพลเอกเปรมที่มีพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุน เมื่อนับคะแนน ผู้ชนะคือพรรคชาติไทยที่ได้รับคะแนนเสียงจากต่างจังหวัดที่นำโดยพลตรีประมาณ อดิเรกสาร กับ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ คู่เขยจอมขี้โกงและทะยานอยากที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอันธพาลการเมืองปีกขวาพวกลูกเสือชาวบ้านและกระทิงแดงในปี 2519 เมื่อพลตรีประมาณท้าชิงตำแหน่งนายกฯ พลเอกเปรมที่ไม่ได้ลงเลือกตั้งก็ใช้ประโยชน์จากความกลัวพลตรีประมาณ บีบให้พรรคอื่นสนับสนุนตน และเขี่ยพรรคชาติไทยไปเป็นฝ่ายค้าน

จากนั้นพลเอกเปรมก็ทำการดัดหลังบรรดานักการเมืองที่สนับสนุนเขาคือแทนที่จะเลือกนักการเมืองเป็นรัฐมนตรี พลเอกเปรมกลับเลือกคนนอกมาเป็นรัฐมนตรีกว่าสิบคนซึ่งล้วนแต่จงรักภักดีต่อพลเอกเปรม แสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้วพลเอกเปรมดูถูกพวกนักการเมือง และพลเอกเปรมก็ย้ำความชอบธรรมของพันธมิตรระหว่างวังกับกองทัพอีกครั้งว่า “กองทัพจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันประเทศ เอกราชของชาติและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุข”

พระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงการสนับสนุนพลเอกเปรมในทุกจังหวะสถานการณ์อย่างเปิดเผย ทรงมีพระบรมราโชวาทในคืนก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม 2526 ด้วยการเทศนายาวเหยียด 45 นาทีที่เต็มไปด้วยการทรงดูถูกเหยียดหยามนักการเมืองจากการเลือกตั้งและข้าราชการ แต่ไม่มีสักคำที่จะตำหนิพลเอกเปรมและผู้นำกองทัพ ทรงโทษข้าราชการและนักการเมืองเรื่องความไม่เอาไหนในการจัดการปัญหาน้ำทวมกรุงเทพฯชั้นในเป็นเวลาหลายสัปดาห์เมื่อสองเดือนก่อนหน้านั้น เปรียบเหมือนกับพวกเด็กฝึกงาน ทรงตรัสว่าแทนที่จะระบายน้ำออกสู่ทะเล เจ้าหน้าที่กลับขยับให้ไปท่วมพื้นที่อื่นต่อๆกันไปอย่างโง่ๆ ก่อปัญหาใหม่ๆ ขื้นมาอีกไม่จบสิ้น ทรงย้ำชัดว่าคนพวกนี้ไร้ความสามารถ ไม่เหมือนกองทัพ
พลเอกเปรมตอบสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการทุ่มเทความพยายามในการปกปิดอำพรางเรื่องเลวร้ายของพระราชวงศ์ ซึ่งยากขึ้นทุกทีที่จะปิดบังต่อสาธารณชน ทันทีที่พลเอกเปรมเป็นนายกฯ ในปี 2523 ก็รีบฟื้นโครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 ที่รัฐสภา ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลธานินทร์ในปี 2519 เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของประชาธิปไตยของวัง โดยได้มีพิธีแห่แหนอย่างเอิกเกริกในในการเปิดอนุสาวรีย์นี้ในวันรัฐธรรมนูญปี 2523 กระทั่งมีการเสนอให้เปลี่ยนวันรัฐธรรมนูญเป็นวันประชาธิปกเพื่อตอกย้ำว่าพระมหากษัตริย์คือผู้พระราชทานอำนาจอธิปไตย แต่เปลี่ยนไม่สำเร็จ ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลก็