ปลดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขวัญใจนักศึกษาออกจากรายการคุ้มครองมรดกแห่งชาติ โดยมีความคาดหมายว่าอาจจะมีการทุบทิ้ง ทั้งหมดคือการพยายามลบ ภาพการปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475 ออกไปจากประวัติศาสตร์ของราชการและจากความทรงจำของประชาชน หลังจากเวลาผ่านไปเกือบห้าสิบปีและเหลือไม่กี่คนที่ยังจำเรื่องราวความจริงได้
พลเอกเปรมรับภาระในการจัดการกับคนสองคนที่ยังเหลืออยู่คือนาย ปรีดี พนมยงค์และพระพิมลธรรม เมื่อพลเอกเปรมขึ้นมีอำนาจ นายปรีดีอยู่ที่ปารีส อายุ 80 ปี และปรารถนาจะกลับบ้านหลังจากอยู่เมืองนอกมานานกว่า30ปี ครอบครัวและเพื่อนฝูงของนายปรีดีได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นายปรีดีกลับไทย โดยพยายามกระตุ้นต่อมพระมหากรุณาธิคุณและการให้อภัยจากในหลวง แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรงกลัวว่านายปรีดียังคงเป็นภัยคุกคามทางการเมือง และยังคงเป็นวีรบุรุษในหมู่นักศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ซึ่งหลายคนตอนนี้เป็นครูอาจารย์และข้าราชการ
พลเอกเปรมออกอุบายรับมือปัญหาท้าทายนี้แทนในหลวงภูมิพล โดยรัฐบาลปล่อยข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่านายปรีดีสามารถกลับมาได้ และวังไม่ได้ติดใจว่าเขาต้องรับผิดชอบในกรณีสวรรคตของในหลวงอานันท์ แต่ก็ไม่เคยมีการอนุญาตอย่างเป็นทางการราวกับว่ามันไปติดขัดอยู่ตรงระเบียบขั้นตอนที่ไหนสักแห่งในระบบราชการและไม่รู้ว่าใครเป็นคนรับผิดชอบ กระทั่งนายปรีดีถึงแก่กรรมที่ปารีสในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 และสิ่งที่เกิดตามมาภายหลังได้แสดงให้เห็นความพยาบาทผูกใจเจ็บของพระเจ้าอยู่หั
ว ศพของนายปรีดีถูกนำกลับไทย แต่รัฐบาลพลเอกเปรมปฏิเสธที่จะจัดพิธีศพให้อย่างเป็นทางการ และพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธที่จะพระราชทานเพลิงศพ ซึ่งที่ผ่านมาพระองค์จะพระราชทานเพลิงศพให้ผู้นำไทยทุกคนยกเว้นจอมพลป.คนไม่เอาเจ้า
พระพิมลธรรมผู้ทรงพลังและหาญท้าทายพระราชวังปรากฏว่าเป็นปัญหายิ่งกว่า หลังจากถูกสฤษดิ์จับสึกและขังคุกด้วยข้อกล่าวหาเท็จในทศวรรษ 2500 พระพิมลธรรมได้สถานะบางส่วนกลับคืนมาในทศวรรษ 2510 ปลายปี 2523 เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุมรณะภาพ และพระลูกวัดก็สนับสนุนให้พระพิมลธรรมกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสตามเดิม แต่มหาเถรสมาคมที่ถูกควบคุมโดยพระราชวังและรัฐบาลเปรมกลับทำเพิกเฉย ไม่ตั้งใครเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ จนเวลาผ่านไปถึงเก้าเดือน การวิพากษ์วิจารณ์จากคนทั่วไปและการขู่จะเคลื่อนไหวประท้วงของพระก็ทำให้มหาเถรสมาคมต้องยอม พระพิมลธรรมจึงได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาส แต่เรื่องยังไม่จบ ชั้นยศสูงสุดของพระคือสมเด็จ ที่ให้ตามผลงานและอายุ และมีเพียงหกอัตราเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม สังฆราชก็เลือกจากสมเด็จหกรูปนี้ ชั้นยศรองลงมาคือ รองสมเด็จ มีสิบสองอัตรา พระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้พระราชทานสมณศักดิ์ทั้งหมดนี้จากการเสนอของมหาเถรสมาคมกับกรมการศาสนา และทรงพระราชทานสมณศักดิ์เหล่านี้ด้วยพระองค์เองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระพิมลธรรมได้ขี้นชั้นรองสมเด็จในทศวรรษ 2490 แต่ถูกจอมพลสฤษดิ์สั่งถอดยศ และเพิ่งได้คืนมาในปี 2518 ท่านจึงมีคุณสมบัติสมบูรณ์ที่จะเลือนชั้นเป็นสมเด็จ แต่วังปฏิเสธ เมื่อสมเด็จหนึ่งในหกรูปมรณะภาพในเดือนกรกฎาคม 2526 ก็เกิดกระแสเคลื่อนไหวเรียกร้องให้พระพิมลธรรมเป็นสมเด็จ โดยที่ท่านมีคุณสมบัติมากกว่าใครอื่น แท้จริงแล้วท่านได้เป็นรองสมเด็จก่อนพระอีกสองรูปที่ได้เป็นสังฆราชไปเรียบร้อยแล้ว สภาสงฆ์อีสานลงคะแนนสนับสนุนท่านอย่างเป็นเอกฉันท์
พลเอกเปรมกับวังรับมือด้วยการขุดข้อกล่าวหาที่ว่าพระพิมลธรรมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ขื้นมาใหม่ เพราะวิตกว่าพระพิมลธรรมเป็นผู้ชิงตำแหน่งสังฆราช ซึ่งมีการเตรียมสมเด็จรุ่นน้องของพระพิมลธรรมจ่อคิวไว้แล้ว คือ พระญาณสังวร พระพี่เลี้ยงของในหลวงนั่นเอง
พระราชวังและพลเอกเปรมใช้วิธีหน่วงเหนี่ยวถ่วงเรื่องแบบเดียวกับกรณีการขอกลับบ้านของนายปรีดี เรื่องนี้ถูกจัดการในเครือข่ายลับ ๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างวัง มหาเถรสมาคมกับรัฐบาล และมีกระบวนการสกัดกั้นโดยทำให้ดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุ มหาเถรสมาคมทำเพิกเฉยในตอนแรก พอ 20 พฤศจิกายน ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาไม่กี่วัน เจ้าคณะภาคอีสานก็เสนอชื่อพระ