เปรมของพวกเขาในปี 2523 เกิดจากภาพทหารอาชีพของพลเอกเปรมและความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้นำยังเติร์กคือพันเอกมนูญ รูปขจรและพลตรีจำลอง ศรีเมือง หลังจากพลเอกเปรมเป็นนายกฯในปี 2523 พลตรีจำลองได้เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แต่ยังเติร์กไม่เป็นที่โปรดปรานของวังมากนัก รายละเอียดเกี่ยวกับกบฏเมษาฮาวายถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปโดยวังและผู้มีส่วนร่วมหลักๆ เพื่อปกป้องชื่อเสียงของพลเอกเปรมและพระราชินีสิริกิติ์ ในตอนแรกมันไม่ใช่การรัฐประหารต่อต้านตัวเปรม แต่ต่อต้านการที่พลเอกเปรมต้องพึ่งพานายทหารขี้โกงบางคนเพื่อที่จะเอาตัวให้รอดจากการตีรวนในสภา ยังเติร์กกับนายทหารพันธมิตรที่ไม่สบอารมณ์กับการเลื่อนตำแหน่งนายทหารการเมืองขี้โกง รวมถึงบรรดาคนโปรดของวังอย่างพลตรีอาทิตย์ กำลังเอก พันเอกมนูญกับ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมาได้ติดต่อพลเอกเปรมในวันที่ 31 มีนาคม 2524 ขอให้ยุบสภากับยกเลิกรัฐธรรมนูญและกุมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบจอมพลสฤษดิ์ในปี 2501 ดูเหมือนว่าทีแรกพลเอกเปรมตกลง พอคณะรัฐประหารยกกำลังออกมาคุมกรุงเทพฯ เท่านั้น พระราชินีสิริกิติ์ก็ทรงเข้ามาแทรกแซงและเรียกพลเอกเปรมเข้าไปพบที่สวนจิตร ข้อมูลระบุว่าพระราชินีต้องการปกป้องพลตรีอาทิตย์ ทรงพูดคุยทางโทรศัพท์อยู่นานกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร(พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา) เรียกให้พวกเขามาพูดคุยกันที่วัง เมื่อพวกเขาปฏิเสธ พระองค์ก็คงจะชักจูงพลเอกเปรมกับพระเจ้าอยู่หัวให้ถอนการสนับสนุนคณะรัฐประหาร คณะรัฐประหารเดินหน้าต่อและประกาศยึดอำนาจในเช้าวันที่ 1 เมษายน ขณะเดียวกัน
พลเอกเปรมก็จัดการอพยพโยกย้ายพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดขื้นเฮลิค็อปเตอร์ไปไว้ยังกองทัพภาคที่สองในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีพลตรีอาทิตย์เป็นรองแม่ทัพอยู่ บนชั้นสองของที่พักส่วนตัวของพลเอกเปรม พระราชินีสิริกิติ์ พลตรีอาทิตย์และพลเอกเปรมได้เปิดฉากสงครามโฆษณาชวนเชื่อ ประเด็นหลักคือฝ่ายไหนกันแน่ที่จงรักภักดีและวังทรงสนับสนุน ตอนบ่ายของวันที่ 1 เมษายน พลเอกเปรมแถลงออกอากาศว่าพระบรมวงศานุวงศ์อยู่กับเขา และคณะรัฐประหารมี “ประสงค์ร้ายต่อแผ่นดินและสถาบันพระมหากษัตริย์”พลเอกเปรมโจมตีคณะรัฐประหารว่าน่าละอายและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ปฏิเสธคำสั่งเรียกให้เข้าพบกษัตริย์ จากนั้นพระราชินีสิริกิติ์ (ไม่ใช่ในหลวงภูมิพล) ทรงเรียกร้องความสามัคคีและวิจารณ์คณะรัฐประหารว่าพยายามโค่นล้ม “รัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว” คำแถลงของพระราชินีถูกถ่ายทอดออกอากาศซ้ำไปซ้ำมาตลอดช่วงเวลา 36 ชั่วโมงต่อมา หลักฐานที่แสดงจุดยืนของวังคือ วันที่ 2 เมษายน อันเป็นวันพระราชสมภพของฟ้าหญิงสิรินธร หนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของฟ้าหญิงบนหน้าหนึ่งโดยมีคำบรรยายว่าพระองค์กำลังประทับอยู่กับพลเอกเปรมที่กองทัพภาคที่สอง
ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวยังมิได้ทรงตรัสอะไรออกมา คณะรัฐประหารก็โต้กลับด้วยการกล่าวหาพลเอกเปรมว่าได้ลักพาตัวพระราชวงศ์ และประกาศว่าพลเอกเปรมหลบกำบังตน “ภายใต้ร่มฉัตรของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ถูกลากเข้ามาเกี่ยวพันกับการเมือง ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึกว่านายทหารไทยนายหนึ่งมีส่วนในการบ่อนทำลายสถาบันกษัตริย์” พวกเขายังพูดอีกว่า พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าพบพระมหากษัตริย์ แต่ถูกพลเอกเปรมกีดกันไม่ให้เข้าเฝ้าต่างหาก “คณะปฏิวัติประสงค์จะส่งคณะผู้แทนเข้าพบพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี เราหวังว่าพลเอกเปรมจะไม่พยายามผูกขาดความจงรักภักดีไว้แต่เพียงผู้เดียว… เราต้องอธิบายความจริงแก่พระเจ้าอยู่หัวและแก่ประชาชน แต่พลเอกเปรมถือไพ่เหนือกว่าและประกาศว่า “กองทัพเกือบทั้งหมดอยู่ในมือของผม และพระเจ้าอยู่หัวก็อยู่กับเรา” อันที่จริงต้องอาศัยการเจรจาเกลี้ยกล่อมอย่างหนักเป็นเวลาถึงสองวันก่อนที่ผู้บัญชาการภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้ามาอยู่ฝ่ายพลเอกเปรม ในที่สุดพันเอกมนูญกับพรรคพวกต้องยอมแพ้ต่อพลตรีอาทิตย์ในเช้าวันที่ 3 เมษายน พลเอกเปรมสามารถรักษาเก้าอี้ไว้ได้โดยไม่มีการลั่นกระสุนแม้แต่นัดเดียว
จุดยืนที่คลุมเครือของในหลวงภูมิพลในกรณีกบฏเมษาฮาวายทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์แทบไม่มีตำหนิ หลังจากนั้นพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเกาะหลังพลเอกเปรมโดยทรงอ้างว่าว่าเป็นการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างสันติตามครรลองประชาธิปไตย และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ร่วมก่อการเกือบทั้งหมดอย่างรวดเร็ว ยังกับว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิดกันในหมู่ลูกๆ ของพระองค์เท่านั้น กระนั้นก็ตามเมื่อพระราชวงศ์ปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะในช่วงหลายสัปดาห์ต่อมาก็ได้มีการคุ้มกันอย่างเข้มงวดแน่นหนาเป็นพิเศษ ในปีถัดมาทั้งพลเอกเปรมและพลตรีอาทิตย์ก็รอดตายจากการลอบสังหารไปได้อย่างหวุดหวิดหลายครั้ง คาดว่าคนลงมือ