ถวายคำอธิบายด้วยความประหลาดใจว่าในหลวงทรงดูแผนที่แล้วก็ทรงสามารถเข้าใจสภาพภูมิประเทศกับสภาพแหล่งน้ำบริเวณนั้นได้อย่างรวดเร็ว เหมือนที่รัชกาลที่ 4 ที่ทรงทำนายการเกิดสุริยุปราคา นับว่าทรงพระอัจฉริยะโดยแท้
แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ยังคงไม่สบพระอารมณ์ที่รัฐบาลเปรมไม่ได้ขยายผลความสำเร็จของพระองค์ไปทั่วประเทศ ในการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือปี 2524 ทรงวิจารณ์ข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาที่ไม่ใส่ใจวิธีการแก้ปัญหาของเกษตรกรที่เรียบง่ายและไม่แพงที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มขื้นมา วิธีการของข้าราชการนั้นไร้ประโยชน์ ข้อมูลไม่ชัดเจนและไม่แม่นยำ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาไม่เคยฟังชาวบ้านที่ฉลาดมากกว่าที่ใครๆ คิดกัน
ทรงบรรยายถึงความไม่ใส่ใจและความสูญเปล่าของระบบราชการโดยใช้โครงการส่วนพระองค์เป็นแบบอย่าง ทรงย้ำว่าโครงการน้ำระดับหมู่บ้านในพระราชดำริจะใช้เวลาไม่กี่วันและเงินไม่กี่พันบาทเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเป็นโครงการของรัฐบาลก็จะต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งปีและใช้งบประมาณเพิ่มเป็นสิบเท่า ซึ่งสร้างความเบื่อหน่ายน่ารำคาญแก่พระองค์เป็นอย่างมาก ทรงได้รับจดหมายจากชาวบ้านร้องทุกข์ทุกวันเรื่องความยากจน การถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีถนน ไม่มีน้ำ ถ้าจะช่วยเหลือพวกเขาได้ทั้งหมด โครงการพระราชดำริจะต้องมีกำลังคนและเงินมากกว่านี้มาก มากเกินกว่าที่ระบบการบริจาคเงินเท่าที่เป็นอยู่จะให้ได้
พลเอกเปรมก็รีบสนองพระราชประสงค์ทั้งสองอย่าง ด้วยงบประมาณและกำลังคนของรัฐบาล โดยเฉพาะกำลังทหารในการสนับสนุนโครงการพระราชดำริ
ไม่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระประสงค์อะไรก็จะได้รับความสำคัญเร่งด่วนเป็นลำดับแรกเหนืองานประจำของแต่ละหน่วยงาน หน่วยงานใหม่ที่พลเอกเปรมนั่งเป็นประธานด้วยตัวเองคือ คณะกรรมการประสานงานโครงการในพระราชดำริ โดยทำหน้าที่เร่งรัดการดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ ในปี 2524 ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงการในพระราชดำริภายใต้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงกลายเป็นหัวหน้างานพัฒนาคนใหม่ของระบบราชการ ที่มีทรัพยากรและสรรพกำลังทั้งหมดของรัฐบาลไว้ให้ใช้ โดยพระองค์ทรงรับเอาความดีความชอบไปแต่เพียงผู้เดียว
คณะกรรมการโครงการพระราชดำริมีผู้ดูแลเป็นนักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติชื่อนายสุเมธ ตันติเวชกุล ที่ปรึกษาคนสนิทของในหลวงภูมิพล นายสุเมธทำงานที่สภาพัฒน์ฯ ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเตรียมการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติและสงคราม เขาเคยใช้เวลาในเวียตนามศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความขัดสนในชนบทกับการลุกขื้นต่อสู้กับรัฐบาล และได้กลับมาทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นายสุเมธเรียกคณะกรรมการพัฒนาโครงการในพระราชดำริว่าเป็นงานบูรณาการที่แก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จสมบูรณ์โดยพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ โดยได้อธิบายวิธีการทำงานจากการที่คณะกรรมการฯ ลงมือแทรกแซงเวลาข้าราชการทำตัวเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของวังที่จะให้ชาวบ้านสามารถทำกินในพื้นที่ป่าเสือมโทรมของรัฐได้ข้าราชการเหล่านั้นไม่สามารถมองทะลุกฎระเบียบที่ไม่มีชีวิตจิตใจและไม่มีสติปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง
เมื่อมีคณะกรรมการพัฒนาโครงการในพระราชดำริ ได้ใช้งบประมาณต่อจากเดิมเป็นสิบเท่า โดยส่วนใหญ่หักเงินเอาจากงบประมาณปกติของกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ โครงการพระราชดำริส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนเดิมที่เคยเป็นมา คือ การวิจัยพันธุ์พืช โครงการแหล่งน้ำทั้งใหญ่และเล็ก การฝึกอบรมแพทย์และอาสาสมัคร การสาธารณสุข เป็นต้น พลเอกเปรมได้ก่อตั้งศูนย์โครงการหลวงหกแห่งทั่วประเทศ แต่ละแห่งมีเนื้อที่หลายพันไร่ ปกติอยู่ในบริเวณตำหนักประจำภาคต่าง ๆ มีเจ้าหน้าที่ทำการทดลองการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นงานที่เหมือนกับงานวิจัยที่ทำกันตามกระทรวงและมหาวิทยาลัยต่างๆนั่นเอง
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริใหม่ๆมากมาย เช่นการผลิตก๊าซชีวภาพ น้ำผลไม้ เห็ดบรรจุกระป๋อง การทำปุ๋ยและเชื้อเพลิงจากผักตบชวา สวนสมุนไพร การปลูกหวาย ทรงมีโครงการกักเก็บและผันน้ำขนาดเล็กร่วมกับกฟผ. ที่ควบคุมเขื่อนผลิตไฟฟ้าและการชลประทานทั่วประเทศ โดยมีผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและอธิบดีกรมชลประทานตามเสด็จเคียงข้างพระเจ้าอยู่หัวเสมอ
กองทัพกลายมาเป็นกองงานส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัว กองทัพสร้างศูนย์การพัฒนามูลค่า