วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ต่อ

ของพระสงฆ์์ โครงการนี้ได้รับงบประมาณส่วนใหญ่จากเงินบริจาค โดยเฉพาะจากนักธุรกิจ ข้าราชการ ทหาร จากฝีมือการเรี่ยไรของพลเอกเปรมล้วนๆ มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่จำนวนมาก กลายเป็นอนุสาวรีย์ประจำพระราชวงศ์จักรี ปัจจุบันมีอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อุทิศให้กับ รัชกาลที่ 7 ในหลวง พระราชินี รัชกาลที่8 และพระราชชนนี

พลเอกเปรมไม่ได้แค่สนับสนุนส่งเสริมวังเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มกันอีกด้วยโดยควบคุมการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มีแต่พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้นที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ แต่ในสมัยนายธานินทร์จนถึงพลเอกเปรม กฎหมายนี้ถูกใช้ปกป้องราชวงศ์จักรีทุกพระองค์และพระมหากษัตริย์ไทยทั้งหมด การดูหมิ่นกษัตริย์องค์ก่อนๆ เช่น รัชกาลที่สองก็ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

สำหรับสื่อมวลชน พลเอกเปรมแสดงความชัดเจนว่าเรื่องของเจ้าไม่ใช่เรื่องของไพร่และห้ามวิจารณ์โดยเด็ดขาด ต่อให้เป็นเรื่องที่พวกเจ้าประโคมกันขื้นมาก่อนก็ตาม หนังสือพิมพ์ฉบับใดที่ตีพิมพ์อะไรก็ตามที่อาจจะมีนัยยะเชิงลบต่อวัง(ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ก็ตาม) จะได้รับการเตือนทางโทรศัพท์จากตำรวจหรือหน่วยงานความมั่นคง ยกตัวอย่าง ในปลายปี 2524 พระราชินีสิริกิติ์ทรงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอเมริกันในสหรัฐฯ โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ตรงๆ ซึ่งวังไม่ได้โวยวายอะไรกับการรายงานบทสัมภาษณ์ในสื่ออเมริกัน แต่พอหนังสือพิมพ์ของไทยนำมารายงานเท่านั้น ก็ถูกตำหนิอย่างรุนแรง กระทั่งถูกขู่ว่าจะโดนปิดด้วยซ้ำ สำหรับคนที่ถูกจับได้ว่าตีพิมพ์เอกสารใต้ดินวิพากษ์วิจารณ์วัง บทลงโทษจะมีความรุนแรงกว่า หลายคนที่มีสวนเกี่ยวข้องกับเอกสารโจมตีพระราชินีสิริกิติ์หลายชุดในปี 2524 ถูกตามล่าและถูกจับขังคุก ชุดละแปดปี
พลเอกเปรมไม่ได้หยุดยั้งแต่เพียงในประเทศเท่านั้น ไม่นานหลังจากนั่งเก้าอี้นายกฯ รัฐบาลประกาศห้ามนิตยสารนิวส์วีค Newsweek ฉบับหนึ่งที่หน้าปกลงรูปพลเอกเปรมอยู่สูงกว่าในหลวงภูมิพล ในเดือนมกราคม 2525 เอเชี่ยนวอลล์สตรีทเจอร์นัลAsian Wall Street Journal ก็ถูกสั่งห้ามขายโดยสิ้นเชิงโทษฐานลงบทความเรื่อง พระะราชวงศ์์ของประเทศไทยจะอยู่่รอดในศตวรรษนี้หรือไม่ “Can Thailand’s Monarchy Survive This Century?” ผู้เขียนเป็นอดีตเจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำประเทศไทย เขียนบทความว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เป็นที่นิยมมากอย่างที่ดูเหมือนว่าจะเป็น และการแทรกแซงทางการเมืองของพระองค์ก็เสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อพระองค์เอง
แม้จะมีการสนับสนุนทุ่มเทของพลเอกเปรมแล้วก็ตาม แต่ในหลวงและพระราิชินีก็ไม่ยอมปล่อยปละละเลยพระราชกรณีียกิจประจำของพระองค์ ในทศวรรษ 2520 ในหลวงเสด็จออกเดินสายต่างจังหวัดปีละสี่ถึงหกเดือน พร้อมด้วยพระราชินีสิริกิติ์หรือไม่ก็ฟ้าหญิงสิรินธรที่ตอนนี้ทรงทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ส่วนตัวของในหลวง พระราชินีก็ทรงทำโครงการหลวงของพระองค์เองเป็นการส่งเสริมหญิงชาวบ้านฝึกผลิตงานหัตถกรรมเป็นรายได้เสริม

พระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ถึงตอนนั้นมีมหาวิทยาลัยอยู่ราว 20 แห่งทั่วประเทศ การประทับนั่งพระราชทานปริญญาบัตรทำเอาพระกรและไหล่ของพระเจ้าอยู่หัวแทบจะพิกลพิการไปเลย ทรงยืนกรานที่จะปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหมอที่เป็นพระสหายเก่าแก่อย่างนายแพทย์ประเวศ วะสีต้องเอ่ยปากต่อสาธารณะว่าการพระราชทานปริญญานั้นเป็นอันตรายต่อพระองค์ จึงต้องทรงแบ่งหน้าที่ส่วนหนึ่งให้พระโอรสและพระธิดา แต่พระองค์ก็ยังคงผูกขาดธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และจปร. การที่ทรงลังเลในเรื่องนี้ก็ถูกนำไปเป็นเรื่องสดุดีถึงความสูงส่งยิ่งใหญ่ของพระองค์อีกประการหนึ่ง

นอกจากนี้ยังทรงสร้างความนิยมทางสัญญลักษณ์ต่างๆ เช่น ในเดือนมกราคม 2527 เสด็จประทับบัลลังก์ศาล เพื่อเปิดศาลแห่งใหม่ที่เชียงใหม่ ทรงประทับนั่งในการพิจารณาคดีเพื่อเตือนผู้คนให้ระลึกว่าพระองค์คือผู้บันดาลความยุติธรรม ในปี 2526 มีการค้นพบช้างเผือกเชือกที่ 13 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีพิธีเฉลิมฉลองกันอย่างใหญ่โต

ภาพการทุ่มเททำงานเพื่อประชาชนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของพระเจ้าอยู่หัวได้รับการตอกย้ำจากปากคำของข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดพระองค์อย่างพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชรในหนังสือพิมพ์เนชั่น ฉบับวันที่ 22 เมษายน 2525 ได้บอกว่าทุกคืนในหลวงกับพระราชินีจะทรงหอบกองเอกสารเข้าไปในห้อง และมักจะทรงต้อง “ใช้เวลาอ่านทั้งคืนเพื่อทำการตัดสินพระทัย” ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งสองพระองค์จึงได้เสด็จออกจากห้องพระบรรทมเมื่อปาเข้าไปเที่ยงวันแล้วในแต่ละวัน แต่แล้วก็ยังต้องปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามกำหนดการต่างๆ ที่แน่นไปหมด แต่ทั้งสองพระองค์ก็ยังทรงพระอุตสาหะเจียดเวลาสำหรับการออกกำลังกาย พระราชินีสิริกิติ์ทรงบริหารพระวรกาย ส่วนในหลวงวัย 55 ชันษาทรงวิ่งจ็อกกิ้งสองกิโลเมตรภายในเวลาไม่ถึง 12 นาทีสัปดาห์ละห้าวัน สองวันที่ไม่ได้วิ่งคือวันศุกร์กับวันอาทิตย์ อันเป็นวันทรงดนตรีแจ๊ส พล.ต.อ.วสิษฐอธิบายว่า “ดนตรีเป็นความบันเทิงอย่างเดียวของในหลวง ทรงบรรเลงอย่างโหยหากระหายอยาก น่าประหลาดใจและน่าตกใจเป็นอย่างมาก ถ้าต้องเฝ้าดูในหลวงทรงดนตรีอย่างไม่มีหยุดตั้งแต่สามทุ่มจนถึงสว่าง ทรงไม่ลุกจากพระเก้าอี้เลย ตอนหลัง...จึงได้เริ่มเข้าใจพระองค์ ดนตรีก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆ ที่พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นจดจ่ออย่างที่สุด ความมุ่งมั่นจดจ่อนี้เป็นผลจากการมีวินัยเข้มงวดต่อตนเองมานาน นี่เป็นภูมิคุ้มกันพระองค์จากอารมณ์ความรู้สึกที่จะก่อกวนความสงบสุขุมในการตัดสินพระทัยที่ถูกต้องของพระองค์”

ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการโฆษณาสนับสนุนเทิดทูนทั้งหลายทั้งปวงดังว่ามานี้คือ มันถอยหลังไปสู่ยุคโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คือเจ้าชีวิตผู้เป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างและประทับอยู่หัวของราษฎร โดยไม่สนใจข้อสรุปของคณะทำงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้พยายามค้นหาว่าประชาธิปไตยฉบับคลั่งเจ้าต้องมีอะไรผิดพลาดไปถึงได้นำไปสู่การสังหารหมู่ 6 ตุลา 2519 โดยได้ข้อสรุปว่า คาถา “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” กับ “ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเป็นประมุข” นั้นล้มเหลวในการหลอมรวมคนในชาติ เพราะมันไม่เชื่อมโยงกับชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนในชนบท ซึ่งไม่มีบทบาทหรือความสำคัญในวัฒนธรรมแห่งชาติที่เน้นแต่การบูชาเทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวแต่เพียงอย่างเดียว จึงเสี่ยงต่อการที่ชาวบ้านจะตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อของพคท. ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมด้วยการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนกว้างขวางขึ้น ชาวบ้านจะต้องมีบทบาทเป็นส่วนสำคัญูในวัฒนธรรมแห่งชาติ
แต่ภายใต้การปกครองของพลเอกเปรมกับผู้นิยมเจ้าหน้าใหม่ การโฆษณาสนับสนุนเทิดทูนวังได้ย้อนกลับไปสู่อดีตกาลแบบโบราณ อย่างเรื่องนโยบายเศรษฐกิจกับการบริหารประเทศที่เปิดให้มีการพูดคุยถกเถียงกันได้มากขึ้น แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงชนชั้นนำที่มีการศึกษาและอยู่ภายในกรอบจำกัดของคาถาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนพลเอกเปรมอย่างเต็มที่ ดังนั้นการวิจารณ์พลเอกเปรมจึงกลายเป็นเรื่องต้องห้าม

ข้อสรุปของคณะทำงานความมั่นคงในเรื่องวัฒนธรรมและอุดมการณ์แห่งชาติได้มีการแจกจ่ายเผยแพร่โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติโดยได้รับงบประมาณจำนวนมาก แม้ว่าจะมีแนวทางที่ก้าวหน้า แต่สิ่งที่คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติส่งเสริมกลับเป็นความคิดแบบเก่า วัฒนธรรมแห่งชาติยังคงเป็นสิ่งที่มาจากเบื้องบนและถ่ายทอดลงสู่ประชาชน โดยยังคงมุ่งเน้นการธำรงรักษาชาติตามนิยามชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติตีพิมพ์หนังสือ อย่างเช่น กษัตริย์จักรีกับคนไทย ในปี 2527 ซึ่งเอาแต่เทิดทูนสรรเสริญสดุดีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในฐานะ “พระมหากษัตริย์ชาวนา” และ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา”พยายามโยงพระองค์ให้เป็นเหมือนพ่อขุนรามคำแหงกับการทรงเป็นผู้นำทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ และยังได้จัดการประชุมวิชาการต่าง ๆ เช่น ความสำคัญของไตรภูมิพระร่วงในยุคสมัยใหม่ อันเป็นความเชื่อเรื่องชาติภพนรกสวรรค์และเรื่องบุญกรรมแต่ชาติปางก่อนแบบสุโขทัย นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งเขียนไว้ว่า บรรดาผู้เข้าร่วมงานล้วนเป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่คิดแบบเดียวกันและพากันย้ำถึงความศักดิ์สิทธิ์เหนือกาลเวลาของคำสอนของคัมภีร์โบราณไตรภูมิพระร่วงที่ยังสอดคล้องกับการเมืองการปกครองและความมั่นคงแห่งชาติมาทุกยุคทุกสมัย ประชาชนยังคง