วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลข่าวสาร...อย่ารีบเชื่อ

พักหลังๆ มีข้อมูลข่าวสารทางอาหารและโภชนาการหลุดออกมากลายเป็นข่าวจำนวนไม่น้อย ยิ่งเทคโนโลยีข่าวสารก้าวหน้าเร็วมากขึ้นเท่าไหร่ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ถึงประชาชน และผู้บริโภค ก็ยิ่งมีมากเท่านั้น


ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาจากอินเทอร์เน็ตบ้าง จากวิทยุบ้าง โทรทัศน์บ้าง หนังสือพิมพ์ รวมไปถึงสื่ออื่นๆ พวกเราคงยอมรับว่าปริมาณข้อมูลที่ออกสู่ประชาชนกับคุณภาพของข้อมูล เป็นคนละเรื่อง พักหลังๆ เริ่มจะมีปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารจำนวนไม่น้อย มีผลประโยชน์ทางการตลาดแฝงอยู่ด้วย เป็นโฆษณาแฝงว่างั้นเถอะ
ตัวอย่างเช่นเมื่อมีข่าวออกมาว่าทางหน้าหนังสือพิมพ์ทำนองว่า

นักวิชาการยืนยันว่าการกินปลาเป็นประจำจะทำให้ฉลาด หรือ

ถั่วเหลืองช่วยให้ไม่เป็นมะเร็ง

ข่าวในทำนองนี้มักทำให้ประชาชนที่ได้รับข่าวสารให้ความเชื่อถือค่อนข้างสูง เพราะในเนื้อหาเหล่านั้น มักมีคาถาอย่างน้อยสองคาถาแฝงมาด้วย ได้แก่ คาถาที่ว่า นักวิชาการ กับ ผลวิจัย ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ค่อนข้างมาก

ข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อออกมาในลักษณะนี้ จะพรั่งพรูออกมาจากหลายสื่อในเวลาใกล้เคียงกัน ยิ่งสนับสนุนให้ข้อมูลที่ว่านี้ ฟังดูน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นไปอีก

ข่าวสารหากได้รับอยู่บ่อยๆ โดยไม่ถูกติติงคัดค้าน จะทำให้ประชาชนโดยทั่วไปยอมรับได้ ในที่สุดจากข้อมูลทางวิชาการ ก็กลายเป็นข้อเท็จจริงทางวิชาการ ที่เป็นไปได้เช่นนี้ ก็เพราะผู้บริโภคข่าวสารไม่ได้มีความรู้ก้าวหน้ารวดเร็วเท่าๆ กับความเร็วของเทคโนโลยีข่าวสาร ประชาชนจำนวนมากยังแยกแยะข่าวสารและข้อมูลไม่ได้ แยกข้อเท็จกับข้อจริงไม่ออก
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวในสหรัฐอเมริกากล่าวถึงส้มจากรัฐหนึ่งทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ให้คุณค่าทางโภชนาการหลายด้าน ช่วยป้องกันโรคบางอย่าง ข่าวสารที่ว่านี้ถูกเผยแพร่ผ่านออกมา จากหลายสื่อจนกระทั่งกลายเป็นความเชื่อ ยอดจำหน่ายส้มจากรัฐนี้เพิ่มขึ้นในอัตราสูง ต่อมาภายหลังมาการตรวจสอบพบว่าข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมาจากนักธุรกิจและกลุ่มเกษตรกรส้ม แหล่งข้อมูลทางวิชาการก็มาจากแหล่งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อย โต้แย้งข้อมูลดังกล่าว
ในที่สุด ทางกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคได้ดำเนินการทางกฎหมายกับสมาคมเกษตรกรและกลุ่มธุรกิจ โทษฐานที่ให้ข้อมูลอันอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เรื่องราวอย่างนี้เกิดขึ้นได้ในประเทศ ที่มีความก้าวหน้าทางข่าวสารเช่นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างเข้มข้น แต่เกิดขึ้นแทบไม่ได้เอาเลยในประเทศยากจน ข้าราชการคอรัปชั่นสูงอย่างประเทศไทย
การรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลอยู่บ้าง เพื่อให้จับได้ไล่ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลทางวิชาการที่ฟังดูขลังง่ายจนเกินไป

เมื่อมีข้อมูลทางวิชาการด้านโภชนาการนำเสนอผ่านสื่อ สิ่งที่ผู้บริโภคจำเป็นจะต้องทำในครั้งแรกคือ การไตร่ตรองพิจารณาว่าข้อมูลดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่ เป็นต้นว่า การศึกษาวิจัยกระทั่งได้ข้อมูลนั้น เป็นการศึกษาวิจัยในมนุษย์หรือในสัตว์ทดลองกันแน่ หากเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง การจะนำมาแปลผลว่าน่าจะได้ผลตรงกันในมนุษย์นั้น ยังไม่อาจทำได้ คนกับสัตว์มีปัจจัยแวดล้อม ไม่เหมือนกัน อย่าด่วนสรุปว่าคนกับสัตว์น่าจะเหมือนกันเป็นเด็ดขาด

ดูต่อไปด้วยว่าการศึกษาทดลองนั้น หากทำในมนุษย์ การเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร กลุ่มที่ทำการศึกษามีจำนวนมากไหม ไม่ใช่ว่าทำการศึกษาในคน 5 คน แล้วตีขลุมว่า ทุกคนบริโภคแล้วจะได้ผลเหมือนกัน ปลาอาจจะทำให้คนบางคนฉลาดขึ้นได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่ที่กินปลาจะฉลาดตามไปด้วย หากกินปลามากแล้วฉลาดมาก ป่านนี้คนเอสกิโมฉลาดที่สุดไปแล้วเพราะคนกลุ่มนี้กินปลามากที่สุด

ลองดูด้วยว่าในการศึกษาทดลองนั้น มีการจัดกลุ่มเปรียบเทียบที่เหมาะสมหรือไม่ บางครั้งทำการทดลองโดยไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่น่าเชื่อถือ

พิจารณาดูอีกว่าผลการทดลองที่ว่าดีนั้น มีนักวิจัยกี่กลุ่มที่สรุปผลอย่างนั้น หากมีอยู่เพียงกลุ่มเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นข้อมูลที่มาจากบริษัทหรือกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่เป็นกลาง ความน่าเชื่อถือก็ย่อมต้องลดลง

ผลการทดลองที่น่าเชื่อถือ น่าจะเป็นการทดลองในมนุษย์ที่มีการเตรียมการทดลองดี มีกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มเปรียบเทียบที่เหมาะสม มีผู้ที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการทดลองจำนวนไม่น้อย และมีผู้วิจัยหลายกลุ่ม ไม่ใช่มีอยู่แค่กลุ่มเดียว หากมีรายงานออกมาแค่ชิ้นเดียว แต่นำมาสรุปเป็นตุเป็นตะ ย่อมไม่เหมาะนัก

ข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลออกมาจากสื่อ จึงใช่ว่าจะน่าเชื่อถือทั้งหมด ปัจจุบันข้อมูลผ่านสื่อ จำนวนไม่น้อยกลายเป็นเพียงโฆษณาแฝง หลอกล่อให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์ อ่านข้อมูลข่าวสารแล้วจึงอย่าเพิ่งรีบเชื่อ ลองพิจารณาดูก่อน หากทำได้ก็ขอให้ปรึกษาหารือ กับผู้รู้ที่มีจิตใจเป็นกลาง ทำให้ได้อย่างนี้รับรองว่าปลอดภัย ไม่โดนหลอกแน่นอนครับ
สนใจ lifepak


ติดต่อ Colskys@hotmail.com ราคา 2100 บาทค่าส่ง ฟรี

รับของได้ทันที่ส่งถึงที่(เฉพาะกรุงเทพฯ) ต่างจังหวัด 3 วันครับ

เบอร์โทร.0869061254,0814267735 อั๋น(NUskin)

THANAKRIT WONGCHOKTHANAKIJ


รหัสสมาชิก THW9154842