วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้สถาปนา

<เมื่อรัชกาลที่ ๑ ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ก็พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเองไม่มีข้อบกพร่อง ไม่เคยกระทำสิ่งใดผิดพลาด เป็นเอกบุรุษที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบุญญาบารมีและบริสุทธิ์กว่าผู้อื่นทั้งแผ่นดิน เพื่อให้สมกับที่ตนเองได้เป็นพระโพธิสัตว์และเทวดาแล้ว โดยเสแสร้งทำเป็นลืมไปว่า ในโลกแห่งความเป็นจริงพระองค์มิได้วิเศษกว่าบุคคลอื่น ตรงที่เป็นมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงเหมือนกัน และที่สำคัญทำเป็นจำไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้พระองค์ก็เป็นสามัญชน ที่มิได้มีเลือดสีน้ำเงิน แม้พ่อจะได้ชื่อว่าเป็นขุนนาง ก็จัดอยู่ในชั้นปลายแถว แม่ก็เป็นเพียงหญิงเชื้อสายจีนพ่อค้า(๑) มิได้เลิศเลอไปกว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ตนเหยียดหยามเป็นไพร่ราบพลเลวเลย

จุดบอดที่รัชกาลที่ ๑ เห็นว่าสร้างความอัปยศให้แก่ตนเองมากคือ ความปราชัยในการรบกับอะแซหวุ่นกี้ที่พิษณุโลก ในรัชกาลพระเจ้าตากสิน การรบคราวนั้นศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช สรุปจากพงศาวดารที่แต่งโดย Sir Arther Phayreและจากจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี น้องสาวรัชกาลที่ ๑ เอง ได้ความว่า แม้อะแซหวุ่นกี้รบชนะเมืองพิษณุโลกที่มีรัชกาลที่ ๑ เป็นแม่ทัพฝ่ายไทย แต่ก็ถูกกองทัพของพระเจ้าตากสินหนุนเนื่องขึ้นมาโจมตีจนแตกพ่ายยับเยิน จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี (เพิ่งถูกค้นพบสมัยร.๕) บันทึกว่าฝ่ายไทยสามารถ “จับได้พม่าแม่ทัพใหญ่ ได้พม่าหลายหมื่น พม่าแตกเลิกทัพหนีไป”หลักฐานฝ่ายพม่าก็ปรากฏว่า อะแซหวุ่นกี้ถึงกับถูกกษัตริย์พม่าถอดจากยศ “หวุ่นกี้” และเนรเทศไปอยู่ที่เมืองจักกายด้วยความอัปยศอดสู(๒) ทั้งที่อะแซหวุ่นกี้เคยได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษที่รบชนะกองทัพจีนมาแล้วก็ตามหลังจากที่ปราบดาภิเษกสำเร็จและปลงพระชนม์พระเจ้าตากสินรวมทั้งขุนนางฝ่ายตรงข้ามไปกว่า ๕๐ ชีวิตแล้ว คราใดที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองพิษณุโลก หัวใจก็เหมือนถูกชโลมด้วยยาพิษ ใจหนึ่งนั้นแสนจะอัปยศอดสูที่ต้องล่าทัพหนีพม่า อีกด้านก็ริษยาพระเจ้าตากสินที่สามารถปราบกองทัพพม่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี และกำหราบอะแซหวุ่นกี้ที่เอาชนะทั้งกองทัพจีนและพระองค์มาแล้ว พระองค์จึงใช้เล่ห์เพทุบายบังคับให้อาลักษณ์แก้ไขประวัติศาสตร์ทุกฉบับ บิดเบือนว่าอะแซหวุ่นกี้มิได้รบกับพระเจ้าตากสิน แต่ต้องถอยทัพไป เพราะกษัตริย์พม่ามีหมายเรียกตัวกลับบ้าน(๓) พงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาถึงกับบิดเบือนว่า พออะแซหวุ่นกี้กลับพม่า ก็ได้รับบำเหน็จรางวัลจากกษัตริย์พม่าในฐานะที่ปราบหัวเมืองเหนือของไทยได้สำเร็จ(๔) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าอะแซหวุ่นกี้นั้นมิใช่ย่อยๆ หาไม่แล้วที่ไหนเลยจะเอาชนะรัชกาลที่ ๑ ได้ จึงมิใช่เรื่องอับอายเลยที่รัชกาลที่ ๑ รบแพ้อะแซหวุ่นกี้พงศาวดารฉบับพระนพรัตน์ถึงกับบันทึกไว้อย่างน่าขบขันว่า รัชกาลที่ ๑ ได้สำแดงความเป็นเสนาธิการชั้นเซียนเหยียบเมฆ ด้วยการแต่งอุบายให้เอาพิณพาทย์ขึ้นตีบนกำแพงลวงพม่าเหมือนขงเบ้ง ตีขิมลวงสุมาอี้ในเรื่องสามก๊ก แล้วรัชกาลที่ ๑ ก็ชิงโอกาสตีแหกทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลกหนีออกมาได้ ก็ขนาดเรื่องใหญ่เช่นนี้รัชกาลที่ ๑ ยังกล้าให้อาลักษณ์บิดเบือนกันถึงเพียงนี้ ทำนองเดียวกับเหตุการณ์ที่อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรีนั้น ก็กล่าวได้ว่าเป็นความเท็จอีกเช่นกัน เพราะจะมีแม่ทัพชาติไหนกันที่จะขอดูตัวแม่ทัพอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อสรรเสริญว่า เก่งกาจสามารถเป็นเยี่ยม เนื่องจากการทำเช่นนี้ย่อมทำลายขวัญสู้รบของทหารฝ่ายตนให้พังพินท์ไปอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์วิจารณ์ไว้ชัดเจนว่า “ถ้าจะมองจากกฎหมายของไทยและพม่าแล้ว ถ้าพระยาจักรีและอะแซหวุ่นกี้เจรจากันดังที่ศักดินาจักรีอวดอ้างแล้ว ทั้ง ๒ ฝ่ายน่าจะมีความผิดถึงขั้นขบถเลยทีเดียว(๕) ทั้งนี้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล กฎหมายตราสามดวงที่ว่า อนึ่ง ผู้ใดไปคบหาxxxเมืองxxxxราชทูตเจรจาโทษถึงตาย”สำหรับเรื่องที่มีผู้รู้เห็นมากมาย

รัชกาลที่ ๑ ยังกล้าใช้ให้อาลักษณ์แต่งพงศาวดารกลับดำให้เป็นขาว ดังนั้นสิ่งที่เป็นเรื่องส่วนตัวไม่มีผู้อื่นรู้เห็นด้วย เช่น เรื่องของซินแสหัวร่อ ทำนายว่า พระยาจักรีกับพระยาตากสินจะได้เป็นกษัตริย์นั้นจึงวินิจฉัยได้ไม่ยากว่า เป็นสิ่งที่รัชกาลที่ ๑ เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาเอง ซึ่งพวกศักดินาจักรีจะอ้างไม่ได้ว่าเรื่องนี้เกิดจากคำเล่าลือของคนรุ่นหลัง เพราะรัชกาลที่ ๑ เองนั่นแหละที่เป็นผู้ออกปากเล่าความให้เจ้าเวียงจันทร์กับพระยานครศรีธรรมราชฟังในวัดพระแก้ว จนกระทั่งมีผู้ได้ยินได้ฟังด้วยกันหลายคน(๖) การที่รัชกาลที่ ๑ กล้าโป้ปดมดเท็จถึงเพียงนี้ ก็เพราะพระองค์กำลังอยู่บนบัลลังก์เลือดของกษัตริย์องค์ก่อน จึงต้องล่อลวงให้ผู้อื่นเข้าใจว่า พระองค์มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ มีปัญญาอภินิหารกว่าผู้อื่นในแผ่นดินรวมทั้งพระเจ้าตากสินด้วย นี่เป็นการพยายามสร้างเหตุผลเพื่อรับรองว่า การปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ใหม่เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดภายในจิตใจลึกๆของสองพี่น้อง คือรัชกาลที่ ๑ กับกรมราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ มีทั้งความพยาบาทชิงชังและความไม่พอใจในตัวพระเจ้าตากสินไม่น้อย ทั้งที่พระเจ้าตากสินได้ทำนุบำรุงให้พี่น้องคู่นี้มีอำนาจวาสนากว่าขุนนางทั้งหลายในกรุงธนบุรี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่า กรมพระราชวังบวรฯนั้น เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง ๖๐ ทีเพราะมีพฤติกรรมซุ่มซ่าม คลานเข้าถึงตัวพระเจ้าตากสินขณะกรรมฐานอยู่ที่ตำหนักแพ กับสมเด็จพระวันรัตน์(ทองอยู่) โดยมิได้ตรัสเรียก(๗) กรมพระราชวังบวรฯจึงมีจิตอาฆาตแค้นเป็นหนักหนาส่วนรัชกาลที่ ๑ ก็เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง ๒ ครั้ง คราวแรกในปี ๒๓๑๓ เพราะรัชกาลที่ ๑ รบกับเจ้าพระฝางด้วยความย่อหย่อนไม่สมกับที่เป็นขุนนางใหญ่ จึงถูกโบย ๓๐ ที(๘) และในปี ๒๓๑๘ รัชกาลที่ ๑ ได้รับคำสั่งให้ทำเมรุเผาชนนีของพระเจ้าตากสิน แต่เมรุนั้นถูกฝนชะเอากระดาษปิดทองที่ปิดเมรุร่วงหลุดลงหมดสิ้น พระเจ้าตากจึงว่า “เจ้าไม่เอาใจใส่ในราชการ ทำมักง่ายให้เมรุเป็นเช่นนี้ดีแล้วหรือ” ทำให้รัชกาลที่ ๑ ถูกโบยอีก ๕๐ ที

ความสัมพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ ๑ กับพระเจ้าตากสิน มิได้สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ รัชกาลที่ ๑ ได้ถวายบุตรสาวเป็นสนมของพระเจ้าตากสิน ซึ่งศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ตั้งข้อสังเกตว่า สนมพระเจ้าตากสินผู้หนึ่งที่ถูกประหารชีวิตเพราะมีชู้ ก็น่าจะเป็นบุตรสาวของรัชกาลที่ ๑ นี่เอง(๙) ด้วยเหตุนี้ รัชกาลที่ ๑ จึงเคียดแค้นพระเจ้าตากสินมาก เมื่อมีโอกาสคราใดก็จะประณามอย่างตรงไปตรงมา คราวหนึ่งถึงกับประณามไว้ในสารตราตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ เพื่อประจานพระเจ้าตากสินว่าเป็นผู้ที่ “กอรปไปด้วย โมหะ โลภะ” (๑๐) ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า พระเจ้าตากสินเป็นผู้นำในการรวบรวมผู้คนที่แตกระส่ำระสาย ในภาวะที่บ้านเมืองไม่มีขื่อแป อดอยาก และพม่าเข้ากวาดต้อนข่มเหงผู้คนไปทั่ว รวบรวมกำลังทีละน้อยรบกับพม่าและคนไทยขายชาติบางกลุ่ม รบกันหลายสิบครั้ง ผลัดแพ้ผลัดชนะ จนสุดท้ายมีกำลังปราบพวกพม่าและชิงกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ จากนั้นก็ปราบก๊กต่างๆจนสามารถรวบรวมเป็นประเทศได้อีกครั้งหนึ่ง นี่ย่อมหมายความว่า พระเจ้าตากสินต้องมีบุคลิกของความเป็นผู้นำ มีลักษณะรักชาติ กอรปด้วยจิตใจที่กล้าหาญดีงาม จึงจะสามารถเป็นศูนย์รวมของชาวไทยในภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด จนสามารถนำชาวไทยไปกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จในช่วงเวลาเพียงปีเดียวนอกจากนั้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น เอกสารของบาทหลวงสมัยนั้นกล่าวว่า พระเจ้าตากมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ แม้แต่ปราสาทราชวังหลังเดียวก็ไม่ปรากฏขึ้นในกรุงธนบุรี อนุสรณ์ที่พระเจ้าตากสินสร้างไว้เป็นเพียงท้องพระโรงที่พระราชวังเดิม ซึ่งดูๆไปก็ไม่วิจิตรพิสดารไปกว่าโบสถ์ขนาดย่อมหลังหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะวินิจฉัยเอาเองว่า ใครกันแน่ที่กอรปด้วยโลภะ โมหะหลังจากรัชกาลที่ ๑ ได้ผลิตผลงานชิ้นเอกด้วยการปลอมแปลงประวัติศาสตร์ของชาติแล้ว พระองค์ก็หันมาฟื้นฟูพุทธศาสนาครั้งใหญ่ โดยการแสดงตนเป็นพระโพธิสัตว์ผู้รู้แจ้ง ด้วยการกล่าวร้ายคณะสงฆ์ไทยอย่างสาดเสียเทเสีย เช่น หาว่า”ทั้งสมณะและสมเณรมิได้รักษาพระจตุบาริยสุทธิศีล” (๑๑) บ้าง “มิได้กระทำตามพระวินัยปรนิบัติเห็นแต่จะเลี้ยงชีวิตผิดธรรม” (๑๒) บ้าง นอกจากนี้ยังโมเมว่าพระภิกษุ “มิได้ระวังตักเตือนสั่งสอนกำกับว่ากล่าวกัน” (๑๓) บ้าง ทั้งๆที่สมัยพระเจ้าตากสินเพิ่งมีการฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังภาวะสงครามครั้งใหญ่ และพระองค์ทรงส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างกว้างขวาง ด้วยพระองค์เองก็ทรงมั่นในวิปัสสนาธุระ สภาพของสงฆ์จึงอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยได้เคร่งครัด ดังนั้นการกล่าวร้ายจึงไม่อาจมองเป็นอื่นไปได้ นอกจากการสร้างเรื่องเพื่อหาช่องทางเข้าไปควบคุมศาสนจักร เพื่อเสริมอำนาจการครองราชย์ของพระองค์ให้เข้มแข็งขึ้น จึงมีการควบคุมจิตสำนึกของสังคมด้วยการบีบบังคับพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่ ไม่ให้มีโอกาสคัดค้านการนำเอาพระพุทธศาสนา ไปกระทำปู้ยี่ปู้ยำเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของกษัตริย์จักรีพระมหากรุณาธิคุณของพระมหาราชองค์นี้ ในด้านการฟื้นฟูพุทธศาสนาคือ ให้ตำรวจวังไปเอาสมเด็จพระวันรัต(ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งเป็นพระอาจารย์วิปัสสนาธุระของพระเจ้าตากสินและเป็นพระอาจารย์ของลูกฟ้าฉิม (รัชกาลที่ ๒) ให้สึกออกแล้วลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๑๐๐ ที และมีดำรัสให้ประหารชีวิตเสีย(๑๔) เพราะแค้นพระทัยมานานแต่ครั้งสมเด็จพระวันรัต เคยทูลให้พระเจ้าตากสินลงโทษ พระองค์เคราะห์ดีที่ลูกฟ้าฉิมทรงทูลขอไว้ชีวิตอาจารย์ของตนไว้ พระแก่ๆที่เคร่งในธรรมจึงได้รอดชีวิตมาอย่างหวุดหวิดการที่พระองค์ทรงบังอาจลงโทษด้วยการทำร้ายพระสงฆ์ชราผู้มั่นในโลกุตรธรรมอย่างรุนแรง นับเป็นพฤติกรรมที่ชั่วร้ายมาก อันชาวบ้านสามัญชนถือเป็นบาปมหันต์ ไม่น้อยกว่าการฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้า แต่ด้วยโมหะจริตที่พยาบาทอาฆาตมานาน และด้วยอำนาจอันยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน ทุกสิ่งที่พระองค์กระทำ จึงเป็นความถูกต้องชอบธรรมทุกประการแต่เดิมนั้นกษัตริย์จะควบคุมสงฆ์ไว้เพียงระดับหนึ่ง แต่ในรัชกาลนี้ การควบคุมกลับเข้มงวดกว่าเดิม กษัตริย์จะให้ขุนนางในกรมสังฆการีมีอำนาจปกครองสงฆ์และเป็นผู้คัดเถระแต่ละรูปว่าควรอยู่ในสมณะศักดิ์ขั้นใด นอกจากนี้ยังให้กรมสังฆการีดูแลความประพฤติของสงฆ์และคอยตัดสินปัญหาเวลาที่พระภิกษุต้องอธิกรณ์ โดยจะเป็นทั้งอัยการและตุลาการ สิ่งนี้ทำให้กษัตริย์และกลุ่มคนดังกล่าวมีอำนาจเหนือพระ(๑๕) ในที่สุดคณะสงฆ์ไทยก็ต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะที่น่าอเนจอนาถใจเพราะถูกครอบงำโดยพวกศักดินาจักรี อันเป็นฆราวาสซึ่งมีเพศที่ต่ำทรามกว่า บางครั้งถึงกับถูกควบคุมโดยพวกลักเพศ เช่นคราวหนึ่งคณะสงฆ์ทั้งอาณาจักร ต้องตกอยู่ใต้การปกครองของกรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสของรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นพวกลักเพศ ชอบมั่วสุมกับเด็กหนุ่มๆ แต่ได้รับการมอบหมายจากกษัตริย์ให้บังคับบัญชากรมสังฆการีแม้ว่ารัชกาลที่ ๑ รวมทั้งศักดินาอื่นจะถือตนว่าเป็นพระโพธิสัตว์และหน่อพุทธางกูร จนก้าวก่ายเข้าไปในศาสนจักรอย่างน่าเกลียด ก็มิอาจปกปิดธาตุแท้ที่โลภโมโทสันได้ พวกเขาต่างก็ปัดแข้งปัดขากันเองอุตลุต เพื่อแก่งแย่งอำนาจและผลประโยชน์ที่ได้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างพวกศักดินาในรัชกาลที่ ๑ เกิดขึ้นระหว่างกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทหรือวังหน้ากับรัชกาลที่ ๑ หรือวังหลวง สองพี่น้องซึ่งต่างก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กันและกัน คราวหนึ่งวังหน้าจะสร้างปราสาทมียอดขึ้นประดับเกียรติยศ ทั้งที่รู้ว่าปราสาทยอดเป็นของหวงห้ามไว้สำหรับกษัตริย์เท่านั้น ในปี ๒๓๒๖ จึงเกิดมีผู้ร้ายแปลกปลอมเข้าไปในวังหน้าจะฆ่ากรมพระราชวังบวรฯขณะทรงบาตร บังเอิญผู้ร้ายเหล่านี้ถูกจับได้เสียก่อน ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นคนในวังหลวงเป็นส่วนใหญ่(๑๖) วังหน้าจึงรู้ว่า “ที่พระองค์มาทรงสร้างปราสาทขึ้นในวังหน้า เห็นจะเกินวาสนาไป จึงมีเหตุ จึงโปรดให้งดการสร้างปราสาทนั้นเสีย” (๑๗) เหตุการณ์ได้รุนแรงยิ่งขึ้นหลังจากที่วังหน้าขอให้วังหลวง เพิ่มผลประโยชน์จากภาษีอากรให้วังหน้ามากกว่าเดิม แต่วังหลวงไม่ยินยอม วังหน้าจึงโมโหหัวฟัดหัวเหวี่ยง จนไม่เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๑ พอถึง พ.ศ.๒๓๓๙ พวกวังหน้าได้เห็นขุนนางวังหลวงขนปืนใหญ่ขึ้นป้อม จึงตั้งปืนใหญ่หันไปทางวังหลวงบ้าง จนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง ทำให้พี่สาวรัชกาลที่ ๑ ต้องเล้าโลมวังหน้าให้เข้าเฝ้า เหตุการณ์จึงสงบลงได้(๑๘)โดยพื้นฐานแล้วพวกวังหน้ามักดูถูกดูหมิ่นพวกวังหลวงว่าไม่เอาไหน สู้พวกตนไม่ได้เมื่อคราวทำสงครามที่เชียงใหม่ในปี ๒๓๓๙-๒๓๔๕ พวกขุนนางวังหลวงจึงถูกวังหน้าซึ่งเป็นแม่ทัพบริภาษติเตียนว่ารบไม่ได้เรื่อง(๑๙)พอถึงปี ๒๓๔๔ วังหน้าป่วยหนักด้วยโรคนิ่ว อาการกำเริบ จึงให้คนหามเสลี่ยงเดินรอบวังหน้า แล้วสาปแช่งว่า “ของใหญ่ของโตก็ดี ของกูสร้าง นานไป ใครไม่ใช่ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง ขอผีสางเทวดาจงดลบันดาล อย่าให้มีความสุข” (๒๐) เพราะทั้งนี้รู้อยู่เต็มอกว่าของเหล่านั้น “ต่อไปจะเป็นของท่านอื่น” (๒๑) ครั้นมาถึงวัดมหาธาตุ ทรงเรียกเทียนมาจุดxxxxxมาติดที่พระแสง แล้วเอาพระแสงจะแทงพระองค์ พระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัต พระโอรสใหญ่ทั้งสองเข้าปลุกปล้ำแย่งชิงพระแสงไปได้ วังหน้าทรงกันแสงกับพื้นและตรัสว่า “สมบัติครั้งนี้ ข้าได้ทำสงครามกู้แผ่นดินขึ้นมาได้ก็เพราะข้านี่แหละ ไม่ควรให้สมบัติตกไปได้แก่ลูกหลานวังหลวง ใครมีสติปัญญาก็ให้เร่งคิดเอาเถิด”พอวังหน้าสวรรคต พวกวังหน้าจึงตั้งกองเกลี้ยกล่อมหาคนที่มีวิชาความรู้ฝึกปรืออาวุธกัน ทำนองจะเป็นกบฏ โดยมีพระองค์เจ้าลำดวนและอินทปัตเป็นหัวหน้า แต่เป็นคราวเคราะห์ดีของรัชกาลที่ ๑ ที่ความแตกก่อน จึงสามารถจับคนเหล่านี้ไปฆ่าจนหมดสิ้น(๒๒) ราชบังลังก์ของรัชกาลที่ ๑ จึงยังคงตั้งอยู่ได้บนคราบเลือดและซากศพของหลานตนเองหลังจากนั้นไม่นาน จะมีการประกอบราชพิธีกรรมทางศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพระอนุชาร่วมพระอุทร แต่รัชกาลที่ ๑ ทรงไม่หายกริ้วเรื่องอดีตถึงกับตรัสว่า “บุญมา เขามันรักลูกยิ่งกว่าแผ่นดิน ให้สติปัญญา ให้ลูกกำเริบถึงคิดร้ายต่อแผ่นดิน ผู้ใหญ่ไม่ดี ไม่อยากเผาผีเสียแล้ว” (๒๓) พวกเจ้าศักดินาไม่ว่าจะอยู่ระดับสูงหรือต่ำไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันต่างก็มีความคิดตื้นๆอยู่เสมอว่า ”ใครก็ตามที่คิดร้ายต่อข้า เขาผู้นั้นคิดร้ายต่อแผ่นดิน” เพราะพวกเขาคิดว่า แก่นแท้ของความถูกต้องก็คือตัวเขานั่นเองจะอย่างไรก็ตาม เหตุการณ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งน่าจะหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เพื่อตัดสินว่ากษัตริย์เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทั้งหลายนั้นมีศีลธรรมจรรยา สมกับที่ตั้งตนเองเป็นเทวดาและพระโพธิสัตว์ หรือไม่ ก็คือเรื่องคาวๆฉาวโฉ่ ที่สร้างรอยด่างให้กับราชสำนัก รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่เจ้าฟ้าฉิม(ซึ่งต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๒) เกิดมีจิตปฏิพัทธ์กับเจ้าฟ้าบุญรอดหลานสาวของรัชกาลที่ ๑ จนถึงขั้นลักลอบเสพสังวาสกันในพระบรมมหาราชวัง โดยไม่นึกถึงขนบธรรมเนียมของปู่ย่าตายาย ที่สั่งสอนให้สตรีไทยรักนวลสงวนตัวหนังสือขัตติยราชปฏิพัทธ์สมุดข่อยที่พวกศักดินาบันทึกไว้ ได้เปิดเผยว่าหลังจากที่เจ้าฟ้าบุญรอดท้องถึง ๔ เดือน ความจึงแตก เพราะเรื่องอย่างนี้ถึงอย่างไรก็ปิดไม่มิด(๒๔) เมื่อเหตุการณ์อันน่าอับอายขายหน้าของพวกเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินถูกเปิดเผยขึ้นมา รัชกาลที่ ๑ ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟที่หน่อพุทธางกูรกระทำการอุกอาจถึงในรั้ววังหลวง ซึ่งพวกศักดินาถือว่าศักดิ์สิทธิ์ จึงขับไล่เจ้าฟ้าบุญรอดออกไปจากวังหลวงทันทีที่รู้เรื่อง และห้ามไม่ให้เจ้าฟ้าฉิมเข้าเฝ้าอีกเป็นเวลานาน(๒๕) นับเป็นบุญของเจ้าฟ้าฉิมที่ไม่ถูกลงโทษมากกว่านี้ เพราะโอรสของรัชกาลที่ ๑ นี้เคยถูกราชอาญาของพ่อถึง ๓๐ ปี เพราะบังอาจไปหลงสวาทพี่สาวของตนเองเข้าให้(๒๖)
หลังกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินได้รวบรวมผู้คนและนักรบต่อสู้ขับไล่พม่าอย่างเด็ดเดี่ยวจนกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ จากนั้นก็ใช้เวลาอีก ๑๕ ปีกรำศึกสงครามรวบรวมหัวเมืองต่างๆที่กระจัดกระจาย ขณะเดียวก็ต้องทำศึกใหญ่กับพม่าหลายครั้ง จนสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมือง พร้อมกับทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ พระองค์เป็นพุทธบริษัทที่ดี เมื่อว่างเว้นจากราชการแผ่นดิน พระองค์จะไปทรงศีลบำเพ็ญพระกรรมฐานที่วัดบางยี่เรือเป็นนิจ(๑) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๓ ทางเมืองเขมรเกิดกบฏขึ้นโดยการยุยง แทรกแซงของญวนฝ่ายองเชียงสือ เป็นการหากำลังและเสบียงขององเชียงสือ เพื่อทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กับญวนฝ่ายราชวงศ์ไต้เชิง(เล้) ขณะเดียวกันในกรุงธนบุรีเอง องเชียงชุน(พระยาราชาเศรษฐี)ซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตาก ได้ก่อกบฏขึ้นในเดือนอ้าย พ.ศ.๒๓๒๔ หลังจากทำการปราบปรามกบฏสำเร็จในเดือนยี่ พระเจ้าตากได้พิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ และทรงตัดสินพระทัยให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเขมรและไปรับมือญวนให้เด็ดขาดลงไป จึงทรงแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่(๒) เจ้าพระยาจักรี(ด้วง) (๓) เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสาศรี(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี)เป็นแม่ทัพรองๆลงมา


ในครั้งนั้นแม่ทัพใหญ่พยายามรุดหน้าไปตามพระราชโองการ แต่ติดขัดที่แม่ทัพรองบางนายพยายามยับยั้ง เพื่อคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี ส่วนทางญวนซึ่งไม่ต้องการเผชิญศึก ๒ ด้าน ทั้งไทยและญวนราชวงศ์เล้ ได้แต่งทูตมาเจรจาลับกับแม่ทัพรองฝ่ายไทย ทางแม่ทัพรองตกลงจะช่วยเหลือองเชียงสือในอนาคต หากงานที่เตรียมไว้สำเร็จ ทางญวนได้ทำตามสัญญาด้วยการล้อมกองทัพมหาอุปราชองค์รัชทายาทอย่างหนาแน่น เปิดโอกาสให้แม่ทัพรองฝ่ายไทยยกกำลังกลับกรุงธนบุรี(๔) เหตุการณ์ในกรุงธนบุรี เกิดมีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดความเข้าใจผิดในพระเจ้าตากและชักชวนกบฏย่อยๆขึ้น จากนั้นก็ยกพลมาล้อมยิงพระนคร ขณะเดียวกันภายในกรุงธนบุรีเองก็มีคนก่อจลาจลขึ้นรับกับกบฏ พระเจ้าตากทรงบัญชาการรบจนถึงรุ่งเช้า จึงทราบว่าพวกกบฏเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ก็สลดสังเวชใจ เพราะพระทัยทรงตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติมุ่งโพธิญาณเป็นสำคัญ และทรงเห็นว่าหากการเปลี่ยนแปลงอำนาจนั้นไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวไทย พระองค์จะทรงหลีกทางให้ พวกกบฏจึงทูลให้ออกบวชสะเดาะเคราะห์สัก ๓ เดือนแล้วค่อยกลับสู่ราชบัลลังก์ ขณะนั้นพระยาสรรคบุรี พระยารามัญวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในกรุงและมีความภักดีต่อพระเจ้าตาก เห็นเป็นการคับขัน จำต้องผ่อนคลายไปตามสถานการณ์หลังจากบวชได้ ๑๒ วัน พระยาสุริยอภัยหลานเจ้าพระยาจักรี ยกทัพมาโดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต เกิดการรบพุ่งกับกำลังของกรุงธนบุรีและได้รับชัยชนะ


จากนั้นอีก ๓ วันคือเข้าวันที่ ๖ เมษายน เจ้าพระยาจักรี(ด้วง)ซึ่งเลี่ยงทัพจากสงครามเขมรมาถึงกรุงธนบุรี ได้มีการสอบถามความเห็นกัน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ยังจงรักภักดีและเชื่อในปรีชาสามารถของพระเจ้าตาก ต่างยืนยันให้อัญเชิญพระองค์มาครองราชย์ต่อไป แต่ข้าราชการเหล่านี้กลับถูกคุมตัวไปประหารชีวิต เช่น เจ้าพระยานครราชสีมา(บุญคง ต้นตระกูลกาญจนาคม), พระยาสวรรค์(ต้นตระกูลแพ่งสภา), พระยาพิชัยดาบหัก(ต้นตระกูลพิชัยกุลและวิชัยขัทคะ), พระยารามัญวงศ์(ต้นตระกูลศรีเพ็ญ) เป็นต้น จำนวนกว่า ๕๐ นายพระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศพระภิกษุในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้งและอัญเชิญพระศพไปฝังที่วัดอินทรารามบางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง ส่วนราชวงศ์ที่เป็นชายและเจริญวัยทั้งหมดถูกจับปลงพระชนม์หมด นอกนั้นให้ถอดพระยศ แม้กระทั่งสมเด็จพระราชินีและสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา(๕) เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาบดีฝ่ายกลาโหมซึ่งตั้งบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระใกล้เมืองถลาง ก็ได้ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่นเมื่อข่าวการปลงพระชนม์พระเจ้าตากแพร่ออกไป เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดอันเป็นเมืองสำคัญทางตะวันตก ก็ตกไปเป็นของพม่าในปีนั้นเอง และเนื่องจากพันธะสัญญาที่ทำไว้กับญวนอย่างลับๆ ไทยจึงต้องช่วยญวนฝ่ายองเชียงสือรบกับญวนฝ่ายราชวงศ์เล้ถึง ๒ ครั้ง รวมทั้งการช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน พอครั้นญวนฝ่ายองเชียงสือมีกำลังกล้าแข็งขึ้น ไทยกลับต้องเสียเมืองพุทไธมาศและผลประโยชน์อีกมากมายแก่ญวนไป(๖)


โอ้อนิจจา .... เรื่องนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบด้วยความเหิมเกริมทะยานอยากได้อำนาจสูงสุด เจ้าพระยาจักรีจึงเป็นกบฏ ทรยศต่อพระเจ้าตาก กษัตริย์ผู้กู้ชาติไทย กระทำการเข่นฆ่าล้างโคตรอย่างโหดเหี้ยม อำมหิตที่สุด ซ้ำยังเสริมแต่งใส่ร้ายพระเจ้าตาก ว่าวิปลาสบ้าง(๗) กระทำการมิบังควรแก่สงฆ์บ้าง วิกลจริตในการบริหารราชการบ้าง จากนั้นก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ และเริ่มสร้างพระราชวังใหม่ที่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ “ราชวงศ์จักรี”และด้วยความโหดร้ายบนเลือดเนื้อและชีวิตของกษัตริย์ในเพศพระภิกษุ กษัตริย์องค์ต่อๆมาในราชวงศ์จักรีจึงเต็มไปด้วยความบาดหมาง แก่งแย่งชิงราชสมบัติกันทุกรัชกาล ลูกฆ่าพ่อ พี่ฆ่าน้อง น้องฆ่าพี่อย่างไม่ว่างเว้นแม้กระทั่งในรัชกาลองค์ปัจจุบัน

ผู้ที่มองเห็นเบื้องหลังของรัชกาลที่ ๔ อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ได้มีเฉพาะคนอย่างคุณกี ฐานิสสร ซึ่งมีชีวิตในยุคหลังเท่านั้น แม้แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังยอดสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในรัชกาลที่ ๔ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความมักน้อย(สมถะ) ก็ยังเคยเดินถือไต้ดวงใหญ่ เข้าวังหลวงในเวลาเที่ยงวัน ปากก็บ่นว่า “...มืดนัก....ในนี้มืดนัก มืดนัก...” (๓๒)
เมื่อพูดถึงรัชกาลที่ ๔ แล้ว ถ้าไม่พูดถึงความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพระปิ่นเกล้าน้องชายเลย ย่อมไม่อาจจะเห็นภาพของราชสำนักที่เต็มไปด้วยการชิงดีชิงเด่นได้ ปรากฏความตามจดหมายของรัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศเล่าว่า รัชกาลที่ ๔ กับพระปิ่นเกล้าไม่ค่อยจะกินเส้นกันเท่าใดนัก เพราะพระองค์ระแวงที่พระปิ่นเกล้ามีผู้นิยมมาก ทั้งพระปิ่นเกล้าเองก็มักจะกระทำการที่มองดูเกินเลยมาก(๓๓) พระปิ่นเกล้าไม่ค่อยยำเกรงรัชกาลที่ ๔ กรมดำรงฯเล่าว่า พระปิ่นเกล้ามักจะล้อรัชกาลที่ ๔ ว่า “พี่หิตบ้าง พี่เถรบ้างและตรัสค่อนว่า แก่วัด” (๓๔) ส่วนรัชกาลที่ ๔ เองแม้ไม่อยากยกน้องชายขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ แต่ก็จำเป็นต้องทำ ทั้งนี้เพราะรู้ดีว่า มีผู้ยำเกรงพระปิ่นเกล้ากันมากว่าเป็นผู้มีวิชา มีลิ้นดำเหมือนพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ มิหนำซ้ำยังเหยียบเรือรบฝรั่งเอียง นอกจากนี้ยังมีทหารในกำมือมาก(๓๕) และพระองค์รู้ดีว่า น้องชายก็อยากเป็นกษัตริย์เพราะว่า ขณะเมื่อรัชกาลที่ ๓ ป่วยหนักนั้น พระปิ่นเกล้าได้เข้าหาพี่ชายถามว่า “พี่เถร จะเอาสมบัติหรือไม่เอา ถ้าเอาก็รีบสึกไปเถอะ ถ้าไม่เอาหม่อมฉันจะเอา...” (๓๖) พระองค์จึงตั้งพระปิ่นเกล้าเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ เพื่อระงับความทะเยอทะยานของน้องชายแต่นานวันความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องทั้งสองคนก็ห่างเหินกันมากขึ้นทุกทีรัชกาลที่ ๔ นั้นไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่มีเสียงเล่าลือไปในหมู่คนไทย ลาว อังกฤษ ว่าตนเองเป็นผู้ที่ “...ชรา คร่ำเคร่ง ผอมโซ เอาราชการไม่ได้ ไม่แข็งแรง โง่เขลา” (๓๗) จนกษัตริย์ทนฟังไม่ได้ ต้องออกกฎหมาย ห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระกายของกษัตริย์ว่า อ้วน ว่าผอม ว่าดำ ว่าขาว ห้ามว่างามหรือไม่งาม(๓๘) ในขณะที่มีเสียงเล่าลือเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้าในทางตรงข้าม เช่น มีผู้เล่าลือกันทั่วไปว่า “...วังหน้าหนุ่มแข็งแรง.....ชอบการทหารมาก มีวิทยาอาคมดี....” (๓๙) ข้อที่สร้างความชอกช้ำระกำใจให้กับพระองค์ที่สุดคือการที่พระปิ่นเกล้าไปไหนก็ “ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองแลกรมการมาทุกที” แต่พระองค์มิเป็นเช่นนั้นเลย จึงริษยาและบ่นเอากับคนที่ไว้ใจว่า “...ข้าพเจ้าไปไหนมันก็ว่า ชรา ไม่มีใครให้ลูกสาวเลย ต้องกลับมาแพลงรัง....” (๔๐) ต่อมาพระปิ่นเกล้าก็สวรรคต แต่การสวรรคตของพระปิ่นเกล้ามีเบื้องหลังมาก ส.ธรรมยศ เขียนไว้ว่า“ ที่พระปิ่นเกล้าทรงสวรรคตด้วยยาพิษโดยพระเจ้ากรุงสยาม(รัชกาลที่ ๔) ทรงจ้างหมอให้ทำ..... ส.ธรรมยศอ้างหนังสือ An English Governer and the Siamese Court ที่เขียนโดยมิสซิสแอนนาเลขานุการของรัชกาลที่ ๔ ว่า เป็นพฤติการณ์ที่รู้เห็นกันทั่วไป และนางใช้คำว่า พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และที่ร้ายแรงกว่าความชั่วช้าคือ ความผูกอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก โดยยกตัวอย่างไว้มากมาย” (พระเจ้ากรุงสยาม, หน้า ๘๑, ๑๗๘)และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ก็ได้แก้แค้นคนทั้งปวงที่นิยมพระปิ่นเกล้า ด้วยการบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา ลูกสาวของเจ้าชายแห่งเมืองเชียงใหม่มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมของตน แต่พระนางสุนาถวิสมิตราไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้ในภายหลัง(๔๑)