วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ต่อ

พรรคร่วมรัฐบาลภายใตการนำของตนเปน “รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งมีความจริงและลึกซึ้งหนักแน่นกว่าที่เคยอ้างๆกันมาเพราะพลเอกเปรมได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างไม่ค่อยเต็มใจต่อมาเป็นเวลาถึง 8 ป ภายใตการปกป้องคุ้มครองอยางเต็มที่ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
ถือได้ว่าพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง คือ เป็นนายกรัฐมนตรีที่เทิดทูนในหลวงภูมิพลไว้เหนือหัวและปกครองประเทศด้วยคุณธรรมตามแบบที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเหนือกว่านายกรัฐมนตรีคนก่อนๆ กล่าวคือ จอมพลสฤษดิ์มีความจงรักภักดีสูงแต่ทุจริตและมักมากในกามารมณ์ จอมพลถนอมและจอมพลประภาสผู้กักขละก็ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นแค่หุ่นเชิดของสหรัฐ สัญญากับคึกฤทธิ์ก็ไม่มีน้ำยา ยึดติดกับรูปแบบประชาธิปไตยและฐานสนับสนุนจากประชาชนมากไป ส่วนธานินทรเปนคนไมหยืดหยุ่นแข็งตัวและไมมีปัญญาคุมทหาร ในขณะที่เกรียงศักดิ์ทำตัวเปนอิสระเป็นตัวของตัวเองมากเกินไป ไม่ค่อยรับใช้พระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เท่าที่ควร
แต่พลเอกเปรมเข้มแข็ง มีวินัย และไม่แสดงอาการอยากร่ำอยากรวยและความกระสันต์ในอำนาจ พลเอกเปรมเข้าใจดีว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลไม่มีพระประสงค์ในการบริหารราชการแผ่นดินแบบวันต่อวัน แต่ทรงต้องการมีใครสักคนคอยรับสนองเวลาพระองค์มีพระบรมราชโองการหรือมีพระราชดำริ ทั้งในหลวงและพลเอกเปรมต่างก็มีความเชื่อร่วมกันในโครงสร้างลำดับชั้นตามธรรมชาติของไทยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมที่อาจจะต้องใช้กำลังบังคับหากจำเป็น ในช่วงทศวรรษ 2520 พลเอกเปรมเป็นผู้เปิดศักราชใหม่ของการประจบประแจงเทิดทูนวัง โดยมีกองทัพและภาคเอกชนให้การสนับสนุน ในช่วงแปดปีที่ครองอำนาจ พลเอกเปรมได้นำพระราชวงศ์ผ่านช่วงที่น่าตื่นเต้นขวัญผวาไปสู่ความเป็นพ่อแห่งชาติและแม่แห่งชาติ ในช่วงทศวรรษ 2520 พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงทำการแทรกแซงอย่างไม่กระดากพระทัยเป็นประจำด้วยร่างทรงของพระองค์ที่ชื่อพลเอกเปรม ส่วนพลเอกเปรมก็ไม่มีความเหนียมอายที่จะเอาหลังพิงวัง ผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยมา 40 ปีรายหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อไหรก็ตามที่พลเอกมีรอยฟกช้ำดำเขียว เขาก็จะตรงเข้าวังเพื่อฉีดยาและกระชุ่มกระชวยกลับออกมา และเมื่อพลเอกเปรมโผล่ออกมาจากสวนจิตร บรรดาปรปักษ์ของเขาก็จะพากันหดหัวไปอย่างรวดเร็ว”

ยิ่งกว่านั้น พันธมิตรระหว่างในหลวงและพลเอกเปรมก็ได้พยายามที่จะปลูกฝังความคิดเรื่องรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวและให้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญในฐานะโครงสร้างอำนาจของวังและกองทัพ ในทางหลักการแล้ว ขุนทหารของพระเจ้าอยู่หัวน่าจะรักษาระบบที่เป็นอยู่ด้วยการส่งเสริมทหารอาชีพที่จงรักภักดีแบบเดียวกันให้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงหรือเป็นแผงหน้าของกองทัพ และนายพลผู้ทรงคุณธรรมเหล่านี้ก็จะกลายเป็นชนชั้นนำรุ่นใหม่ แต่ว่าการผงาดเติบใหญ่ของพลเอกเปรมกลับไปเพิ่มการชิงดีชิงเด่นเล่นพรรคเล่นพวกที่ไม่มีคุณธรรมเพียงต้องการประจบเอาใจวัง ทำให้กองทัพเต็มไปด้วยการแบ่งพรรคแบ่งพวกกับความหย่อนยานทางวินัย การเมืองในยุคพลเอกเปรมจึงไม่มีเสถียรภาพและมีหลายครั้งที่ปั่นป่วนอย่างรุนแรง แต่วังและพลเอกเปรมก็ยังถือว่านั่นคือสิ่งยืนยันความชอบธรรม หลังจากการแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่มทหารหลายครั้งหลายรอบ มรว.ทองน้อย ทองใหญ่เลขาคณะองคมนตรีก็ประกาศว่ามันแสดงให้เห็นว่ามีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถนำประเทศได้ “ต่อให้คนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมาเป็นประธานาธิบดีของประเทศจะสามารถนำพาประเทศฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ยามวิกฤติได้หรือ? ประชาชนไม่มีศรัทธาในตัวเขา แต่ในขณะเดียวกันสถาบันกษัตริย์และกษัตริย์ของเราสามารถทำได้”
การขื้นสู่อำนาจของพลเอกเปรมในตอนแรกไม่ได้เป็นประเด็นสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ เพราะภัยคุกคามจากเวียตนามกับพคท.ยังเป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมให้กับการครองอำนาจของทหาร และด้วยการสนับสนุนจากในหลวงภูมิพล พลเอกเปรมได้ใช้ประโยชน์จากภาวะยอมๆกันไปนี้ในการสร้างอำนาจทางทหารให้กลายเป็นสถาบันขึ้นมามากยิ่งขื้นไปอีก ขั้นแรกคือการวางกรอบหลักการ ในรูปของคำสั่ง 66/2523 ซึ่งเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่เป็นหลักการสำคัญที่พลเอกเปรมประกาศออกมาหลังจากกุมอำนาจรัฐบาลได้เพียงเจ็ดสัปดาห์ เมื่อผนวกกับคำสั่ง 65/2525 ที่ออกตามมาในภายหลัง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้านโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ขนานใหญ่ เป้าหมายคือการเอาชนะพคท.ด้วยการจัดการปัญหาที่แท้จริงของ