วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ต่อ

ถางป่าสงวนบนยอดดอยอินทนนท์เพื่อสร้างพระเจดีย์ถวายในหลวงและพระราชินีพระองค์ละหนึ่งแห่ง ปลายปี 2529 พลเอกเปรมประกาศอย่างเป็นทางการถวายพระเกียรติยศให้ในหลวงภูมิพลเป็น “อัครศิลปิน” เป็นการโหมโรงก่อนที่จะประกาศถวายพระเกียรติเป็น“มหาราช”ในเดือนธันวาคม 2530 โดยทำเหมือนว่าประชาชนไทยทั้ง 41 ล้านคนพร้อมใจกันถวายตำแหน่งมหาราชเพื่อยกระดับพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เทียบเท่าพ่อขุนรามคำแหง พระนเรศวรและรัชกาลที่ 5 โดยทุกพระองค์ที่ล้วนได้ตำแหน่งมหาราชหลังสิ้นพระชนม์ไปแล้วทั้งสิ้น (ในปี 2526 มรว.ทองน้อยเขียนแก้ตัวให้ในหลวงภูมิพลว่า ทรงยืนกรานปฏิเสธการยกย่องพระองค์เป็นมหาราช เพราะควรปล่อยให้ประวัติศาสตร์เป็นผู้ตัดสิน) ไม่กี่เดือนต่อมา ฟ้าหญิงสิรินธรก็ทรงได้รับขนานพระนามเป็น อัครอุปถัมภ์แห่งมรดกวัฒนธรรมไทย
การสรรเสริญสดุดีทั้งหมดนี้คือความพยายามแสดงว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลได้ทรงบรรลุถึงขั้นเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว พระสงฆ์สวดภาวนาถวายให้พระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ และมีการโหมโฆษณาพระราชกรณียกิจที่ทรงอุทิศพระองค์ต่อพระพุทธศาสนา กรมการศาสนาทำการสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของพระเจ้าอยู่หัว การสังคายนาพระไตรปิฎกถือเป็นงานใหญ่และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เป็นเครื่องบ่งบอกถึงพระอัจฉริยภาพของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่ได้ทรงเล็งเห็นและจัดการแก้ไขความบกพร่องในพระธรรมคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรว.คึกฤทธิ์ ได้บรรยายแก่สโมสรนักข่าวต่างชาติประจำประเทศไทย เมื่อ 22 มิถุนายน 2531 โดยป่าวประกาศถึงสภาวะเข้าใกล้ความเป็นเทพเจ้าของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เขาเล่าถึงโครงการพระราชดำริต่างๆ อันวิเศษมหัศจรรย์ของพระองค์ซึ่งหากตกอยู่ในมือของรัฐบาลแล้วก็มีแต่จะล้มเหลวไม่ได้เรื่อง เขายกความดีให้เป็นผลมาจากการที่ในหลวงภูมิพลทรงเป็นทั้งเทพเจ้าและมนุษย์ไปพร้อมๆก้น แม้จะดูขัดๆกันเองก็ตาม ว่า...
พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอะไรที่ใกล้ชิดและเป็นที่รักของประชาชน ทรงถูกถือเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวและในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ยังเชื่อว่า ในหลวงคือพระเจ้า บางทีก็เป็นการยากที่ประชาชนจะหาสมดุลระหว่างความใกล้ชิดที่พวกเขารู้สึกต่อพระเจ้าอยู่หัวกับความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งที่พวกเขาเชื่อว่าพระองค์มี ในขณะเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวก็ต้องทรงรู้สึกว่าลำบากที่จะหาสมดุลระหว่างการเป็นมิตรของครอบครัวกับข้อเท็จจริงที่ว่าพระองค์ทรงสูงส่งอย่างยิ่ง ในงานพระราชพิธีและในวาระที่เป็นทางการ พระเจ้าอยู่หัวจะต้องทรงแสดงแง่มุมความศักดิ์สิทธิ์ออกมาในปริมาณหนึ่ง พระองค์ไม่สามารถเป็นมนุษย์ได้ล้วนๆ และในเวลาเดียวกันก็ต้องพยายามเป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างมากเวลาเสด็จเดินสายต่างจังหวัด ทรงต้องเยี่ยมเยียนชาวบ้านถึงกระไดบ้าน เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าอยู่หัวนี่แหล่ะที่ได้ทำให้ประเทศชาติมีเสถืยรภาพมั่นคง
มรว.คึกฤทธิ์ได้สนับสนุนคำอ้างนี้ด้วยการเล่าถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า “ปาฏิหาริย์ที่เป็นจริง” นั่นคือการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จากเดิมที่มีสภาพเป็นป่าเต็งรังเสื่อมโทรม ว่าเพียงหลังจากในหลวงทรงนำน้ำและสหกรณ์เข้ามาเท่านั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นั่นก็ดีขึ้นทันตาเห็น “ถ้าคุณไปที่นั่นตอนนี้ คุณก็จะพบสวนแห่งอีเดน(หรือสวนสวรรค์บนดิน) นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้”
นักข่าวต่างชาติต่างพากันหัวเราะคิกคักกับเรื่องความเป็นเทพเจ้าของพระเจ้าอยู่หัว เหมือนฟังเรื่องอภินิหารของพ่อมดหมอผีแห่งชนเผ่ามนุษย์กินคนในทวีปอัฟริกา แต่พวกเขาก็พร้อมใจกันก้มหน้าก้มตารายงานว่าความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับการพัฒนาประเทศล้วนเกิดจากพระเจ้าอยู่หัวอย่างน่าอัศจรรย์ นิวยอร์คไทมส์เขียนว่า “พระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์ในโครงการพัฒนาในพระราชดำริต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มและดูแลมาตั้งแต่ปีแรกๆ ที่ขึ้นครองราชย์ การใช้โครงการพระราชดำริหรือพระนามของพระองค์ย่อมเป็นหลักประกันว่าโครงการนั้นจะได้รับการปฏิบัติอย่างทุ่มเทและไม่มีข้าราชการหน้าไหนที่จะกล้าเฉื่อยชาหรือทำตัวเป็นอุปสรรค”
แต่การเชิดชูสดุดีพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ช่วยปกป้องรัฐบาลเปรมเสมอไป ในปี 2530 พลเอกเปรมต้องเผชิญการท้าทายและการโจมตีที่หนักข้อขึ้นโดยบางส่วนมาจากองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอที่กำลังเริ่มก่อตัวท้าทายรัฐบาลด้วยประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเด็นหนึ่งคือการรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนน้ำโจนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้มีความกล้าหาญและมีพลัง งานนี้รวมคนได้กว้างขวางอย่างน่าทึ่ง คือมีทั้งเกษตรกร พ่อค้าในเมือง นักวิชาการและปัญญาชนกับนักสิ่งแวดล้อม ต่างพากันคัดค้านเขื่อนเพราะมันจะทำให้เกิดน้ำท่วมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่กินพื้นที่กว้างใหญ่บริเวณชายเเดนภาคตะวันตกและทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องไร้ที่อยู่ที่ทำกิน พวกเขาโจมตีพลเอกเปรมที่ตัดสินใจเดินหน้าโครงการโดยไม่มีการปรึกษาหารือประชาชน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มีผู้ว่าการคือนายเกษม จาติกวนิชย์ ซึ่งเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว ที่มีประวัติอันยาวนานในการทำลายสิ่งเเวดล้อมและการละเลยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ การประท้วงครั้งนี้ทำให้ในหลวงภูมิพลพลอยเสียชื่อไปด้วยอย่างอ้อมๆ เพราะการสร้างเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตถูกยกให้เป็นผลงานของพระองค์ในการจัดการเรื่องแหล่งน้ำ ศึกครั้งนี้ยืดเยื้อข้ามปี 2530 และในที่สุด พลเอกเปรมกับกฟผ.ก็ยอมยกเลิกโครงการในต้นปี 2531 อย่างไม่เป็นท่า
การท้าทายต่อระบอบเปรมที่มีเจ้าหนุนหลังอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายมองเห็นจุดประสงค์ที่แท้จริงเบื้องหลังงานใหญ่นี้คือการหาเรื่องเฉลิมฉลองวโรกาศพระชนมพรรษา 60 ปี ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่เข้าท่า เนื่องจากการกำหนดเส้นตายให้เสร็จภายในสองปีนั้นเป็นไปไม่ได้ พวกเขาไม่ยอมเร่งมือและปล่อยให้กำหนดการนั้นถูกยกเลิกไป

พระราชวังและพลเอกเปรมได้พยายามสร้างระบอบวังร่วมกับกองทัพให้มั่นคงถาวร พระเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายแก่กลุ่มนักข่าวไทยที่ไปเยี่ยมชมศูนย์โครงการพัฒนาในพระราชดำริที่เชียงใหม่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2530 โดยทรงเน้นว่าพระราชดำริของพระองค์มีความเหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท และระบบการเมืองก็ต้องมีความสอดคล้องกับบุคลิกความเป็นไทย พระราชดำรัสนี้เปิดให้มีการตีความไปได้หลายทาง สัปดาห์ต่อมาพลเอกเปรมก็บอกแก่คณะรัฐมนตรีของเขาว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้กองทัพมีบทบาทครอบงำการเมืองอย่างเป็นทางการ คนรับนโยบายของพลเอกเปรมคือผบ.ทบ.คนใหม่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้มีบทบาทในการร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523ประกาศใช้เมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2523 เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของคำสั่งนี้ คือ การใช้หลักการเมืองนำการทหาร ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้ระบุถึงสาเหตุของการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ว่าเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยพลเอกชวลิตได้มีบทบาทในการดำเนินนโยบายทางสังคมและการเมืองของกองทัพในเขตชนบท โดยให้กองทัพเป็นผู้ควบคุมบางจังหวัด พลเอกชวลิตได้ช่วยพลเอกเปรมปราบปรามความพยายามก่อรัฐประหารมาหลายครั้ง เมื่อพลเอกอาทิตย์กระเด็นไปแล้ว พลเอกชวลิตก็มองว่าตนเองจะเป็นผู้ที่จะสืบทอดอำนาจต่อจากพลเอกเปรม
พลเอกชวลิตย้ำว่ามันคือพระราชประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัว เขาประกาศว่ากองทัพคือพลังหลักของประเทศในการพัฒนาและการบรรเทาความยากจน ภายใต้การชี้แนะของพระเจ้าอยู่หัว เรามีที่ดิน แหล่งน้ำ แรงงานที่มีวินัยและอุปกรณ์เครื่องมือมหาศาล ส่วนวิธีการนั้นเราหาได้จากหน่วยงานอื่นๆ กำลังพลได้เข้ารับการอบรมเรื่องการพัฒนาเพื่อรับดำเนินงานในโครงการในพระราชดำริจำนวนมากที่ใหญ่โตที่สุดคือโครงการอีสานเขียวอันโด่งดังของพลเอกชวลิต ที่จะพลิกแผ่นดินแห้งแล้งของอีสานให้เขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาให้ได้ ใช้งบประมาณกว่า 13,500 ล้านบาท โดยถูกจัดสรรผ่านหน่วยงานต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพ และทหารจำนวนมากได้ออกไปสร้างอ่างเก็บน้ำ ถังน้ำ และขยายโครงการผันน้ำต่างๆ และยังได้ปลูกป่ายูคาลิปตัสเพื่อป้อนโรงงานเยื่อกระดาษโดยอ้างว่าเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า แต่กองทัพกลับถูกโจมตีว่าแย่งบทบาทการทำงานของรัฐบาลโดยใช้โครงการพระราชดำริเป็นข้ออ้าง กองทัพถูกวิจารณ์ว่าได้ผลาญเงินงบประมาณประเทศไปกว่าหนึ่งในสี่ ซึ่งมากกว่างบสาธารณสุขและการศึกษามากนัก นักวิจารณ์เรียกกองทัพว่าเป็นเพียงอีกพรรคการเมืองหนึ่งที่รับใช้แต่ตัวเองเท่านั้น โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลสร้างอำนาจให้ตนเอง พวกเขาชี้ถึงการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยของบรรดานายพลเศรษฐีนับสิบรายว่าเป็นหลักฐานแสดงถึงการทุจริตคอรัปชั่นกันอย่างมโหฬาร และนักวิจารณ์บางคนก็ถามอย่างกวนๆ ว่าอีสานเขียวหมายถึงพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือแค่เครื่องแบบทหารกันแน่ บรรดานายทหารก็แก้ตัวแบบเดียวกับที่วังได้ใช้โต้มาก่อนหลายปีแล้ว ว่านักการเมืองกับนักธุรกิจนายทุนนั้นฉ้อฉลและเห็นแก่ตัว เรื่องนี้ถึงกับมีการสอนในวิชาปรัชญาการเมืองที่โรงเรียนนายร้อยจปร. โดยกองทัพเผยแพร่ทัศนะนี้ผ่านสื่อด้วยคำขวัญอย่างเช่น “มีแต่กองทัพเท่านั้นที่ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนและจริงใจต่อประชาชน มีแต่กองทัพเท่านั้นที่เป็นความหวังให้กับประชาชนได้”

แต่ว่ากองทัพก็ไม่สามารถอ้างว่าพวกตนมีมาตรฐานทางคุณธรรมสูงกว่าคนอื่นอีกต่อไปแล้ว เพราะฝ่ายค้านในสภาได้เตรียมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกเปรมในเดือนเมษายน 2530 แต่ว่าพลเอกเปรมใช้เล่ห์กลตัดแข้งตัดขาและซื้อตัวสส.กันอย่างโจ่งแจ้ง ทำให้ญัตติต้องตกไปเพราะคะแนนเสียงไม่พอ แต่ประชาชนก็ได้เห็นทางโทรทัศน์ว่าสส.ได้เยาะเย้ยหยามหยันรัฐบาลพลเอกเปรมที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุน และยังได้ยินถ้อยคำโจมตีพลเอกเปรมอย่างที่ไม่เคยได้ยินกันมาก่อน อย่างเช่น มรว.คึกฤทธิ์กล่าวหาว่า ”พลเอกเปรมทำตัวยังกับเป็นพระเจ้าอยู่หัวเสียเอง การที่ผู้นำรัฐบาลไปเยี่ยมชาวบ้านและเอาแต่พูดถึงความจงรักภักดีของตนนั้นเป็นแค่ลูกไม้เพื่อสร้างความนิยมให้กับตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในอนาคต เผื่อว่าเกิดมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมา ประชาชนก็ต้องเลือกเขา เพราะชาวบ้านก็จงรักภักดีเหมือนกัน ผมรู้สึกน่าอับอายในฐานะคนไทยที่ต้องยอมให้คนๆ หนึ่งอยู่เหนือการเมืองและการวิพากษ์วิจารณ์ คนที่กลายมาเป็นเหมือนกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ว่าประพฤติตัวราวกับว่าตนเองมีความสำคัญมากกว่าพระมหากษัตริย์จริงๆ เสียอีก” มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตรเขียนบทความที่โจมตีพลเอกเปรมอย่างรุนแรงในแนวเดียวกัน โดยบอกว่าพลเอกเปรมแทบไม่เคยทำอะไรสำเร็จเลยตลอดระยะเวลาเจ็ดปีและเป็นคนที่รังเกียจวิถีทางประชาธิปไตย “เนื้อหาสาระผลงานของพลเอกเปรมก็คือการถ่วงดุลทหารกลุ่มหนึ่งให้คุมเชิงทหารอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อรักษาตำแหน่งของตัวเอง ลีลาการเป็นผู้นำของพลเอกเปรมคือลอยตัวแบบเจ้า ลอยตัวจากปัญหาการเมืองทั้งหมด และคอยจัดการไม่ให้การวิพากษ์วิจารณ์ตัวเขาลุกลามบานปลายออกไป” มรว.สุขุมพันธ์บอกว่าพลเอกเปรมไม่ได้เตรียมการใดๆ ให้ประเทศสำหรับการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกคนล้วนพากันกังวลเรื่องข่าวลือการสละราชบัลลังก์... ในเรื่องล่อแหลมที่ถือเป็นวิกฤตต่อความเชื่อมั่นในสถาบันการเมืองของประเทศที่กำลังลุกลามเรื่องการสละราชบัลลังก์ก่อนเวลาจะส่งผลลบที่รุนแรงต่อระบบการเมืองไทย เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและทรงอิทธิพลมากที่สุด ส่วนฟ้าชายวชิราลงกรณ์ไม่สามารถที่จะรับช่วงสืบทอดราชบัลลังก์ดำเนินรอยตามแบบที่พระราชบิดาได้ทรงวางไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างที่เป็นอันตรายมาก”
ปลายปี 2530 ได้เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นเมื่อพลเอกเปรมและพลเอกชวลิตพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจของกองทัพบกแต่ต้องมาเจอเรื่องทุจริตอื้อฉาวหลายกรณีและความประพฤติที่เป็นวีรกรรมใหม่ๆ ของฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ในระหว่างช่วงของการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาที่กำลังขึ้นสู่จุดสูงสุดยอดของเทศกาล ฟ้าชายที่พยายามประพฤติตัวดีมาตลอดเกือบทั้งปี แต่ในปลายปี 2530 พระองค์ดูจะอดพระทัยไม่ไหวและทรงรีบเร่งที่จะให้หม่อมสุจาริณีได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเสียที ต้นเดือนมกราคม เธอได้คลอดลูกคนที่ห้า เป็นผู้หญิงได้ชื่อว่า บุษยาน้ำเพชร ภายหลังเปลี่ยนเป็น สิริวัณวรี มหิดล เธอได้ติดตามฟ้าชายพระสวามีออกงานไปทั่วประเทศ ปรากฏในข่าวชาววัง หนังสือพิมพ์ลงรูปหม่อมสุจาริณีในขณะที่ไม่ลงรูปรูปโสมสวลี ในเดือนพฤศจิกายนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่าหม่อมสุจาริณีสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้วยคะแนนสูงสุดจากมหาวิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร หนังสือพิมพ์กับข่าวชาววังเผยแพร่ภาพพระสวามีพระราชทานปริญญาบัตรให้พระชายา ทำให้ประชาชนบางคนแอบเยาะหยันอย่างเงียบๆพร้อมทั้งข่าวอกุศลของหม่อมสุจารณีที่เผยแพร่โดยฝ่ายโสมสวลี
ด้วยกระแสเรื่องการสละราชบัลลังก์ ดูเหมือนว่าหม่อมสุจาริณีกำลังถูกเตรียมตัวให้เป็นราชินี แต่เธอยังไม่ได้มีสถานะที่เป็นทางการ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ที่สร้างปัญหาทางการทูตกับญี่ปุ่น ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน 2530 ฟ้าชายวชิราลงกรณ์เสด็จเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเป็นเวลาแปดวัน ก่อนไปทรงยืนกรานให้โตเกียวถวายการต้อนรับพระองค์กับหม่อมสุจาริณีอย่างเป็นทางการ แต่ฝ่ายญี่ปุ่นปฏิเสธด้วยเหตุผลทางพิธีการทูต คือมีแต่พระชายาที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นที่จะสามารถออกงานร่วมกับพระองค์ในการพบปะอย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรี และราชวงศ์ญี่ปุ่น ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ทรงโกรธเคืองเป็นอย่างมากเมื่อต้องเสด็จญี่ปุ่นตามลำพัง ทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างเสียมิได้ และฟ้าชายก็ระเบิดอารมณ์โดยเสด็จกลับก่อนกำหนดสามวัน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่าทางการญี่ปุ่นได้ทำการดูหมิ่นฟ้าชายและพระราชวงศ์ในหลายๆเหตุการณ์ ทำให้ลูกเสือชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปชุมนุมที่หน้าสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ จะก่อความรุนแรงหากไม่มีการขอโทษ ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งในโตเกียวและกรุงเทพฯพากันตกอกตกใจ พลเอกเปรมก็มีกำหนดจะไปเยือนญี่ปุ่นภายในสิบวัน และก็ต้องกุเรื่องกล่าวหาว่าญี่ปุ่นทำให้ฟ้าชายวชิราลงกรณ์เสียหน้าเพื่อกลบเกลื่อนความจริงที่ไม่สามารถบอกใครได้ พลเอกเปรมที่ทำหน้าที่หลักในการปกป้องพระเกียรติยศของพระราชวงศ์จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำการประท้วงอย่างเป็นทางการ โดยที่วังต้องรีบจัดการไม่ให้เรื่องราวลุกลามบานปลาย เชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงกดดันให้ฟ้าชายต้องยอมสั่งให้ยุติการโจมตีญี่ปุ่นโดยเห็นแก่สัมพันธไมตรีในวันที่ 6 ตุลาคม 2530 และเมื่อพลเอกเปรมไปถึงโตเกียวหลายวันถัดมา นายกฯยาสุฮิโรนากาโซเนะก็แสดงความเสียใจและซาบซึ้งที่ฟ้าชายยอมแก้ไขสถานการณ์ ขณะที่พลเอกเปรมรับมือกับเรื่องของวัง ก็ยังต้องเจอปัญหาทางการเมืองที่ตนเองเป็นต้นเหตุ ในเดือนตุลาคมพลเอกเปรมนั่งเป็นประธานการประชุมกอรมน.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจแก่ฝ่ายบริหารและกองทัพ โดยประกาศว่าการปฏิรูปประชาธิปไตย ครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของประเทศชาติ โดยไม่มีหลักการและเหตุผลอย่างเป็นทางการ นอกจากเรื่องการเปลี่ยนตัวพระมหากษัตริย์ที่อาจเกิดขึ้นกับข้ออ้างเรื่องภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ในขณะเดียวกัน บารมีส่วนตัวของพลเอกเปรมก็เสื่อมลงจากการเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นถึงสามเรื่องต่อเนื่องกัน กรณีแรกนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถูกฝ่ายค้าน นำโดย นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบน โดยนำสำเนาสเตตเมนต์ แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายจิรายุลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 มาจนถึงปัจจุบัน
กรณีที่สองรัฐมนตรีคมนาคม นายบรรหาร ศิลปอาชาถูกกล่าวหาว่าโกงกินอย่างมโหฬารและซื้อเสียง ใช้อำนาจหน้าที่ในทางไม่สุจริตเกี่ยวกับการเลือกตั้งทำให้รัฐบาลสูญเสียเงินงบประมาณเพื่อประโยชน์ของบริษัทของตน เบื้องหลังคำกล่าวหาก็คือการเชื่อกันว่าพลเอกเปรมปล่อยให้บรรหารทุจริตโกงกินอย่างเสรี เนื่องจากพลเอกเปรมต้องอาศัยการสนับสนุนทางการเมืองจากนายบรรหาร
กรณีที่สามเป็นเรื่องการทุจริตในการซื้ออาวุธของกองทัพ ที่เกี่ยวพันกับพลเอกชวลิตและภรรยาในการจัดซื้อรถถังสติงเรย์ของอเมริกา รถถังรุ่นนี้กระทั่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยังปฏิเสธเนื่องจากราคาแพงและคุณภาพต่ำ แต่ถึงกระนั้นพลเอกเปรมก็ยังปล่อยให้ดำเนินการต่อไป ทั้งๆที่ข้าราชการพลเรือนและทหารระดับสูงบางส่วนได้คัดค้านไว้แล้วก็ตาม ปรากฏว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่ซื้อรถถังสติงเรย์ ซึ่งมีคุณภาพแย่ยิ่งกว่าที่ถูกวิจารณ์เสียอีก เรื่องอื้อฉาวเหล่านี้หนักหนาสาหัสพอที่จะทำให้รัฐบาลล้มพังพาบได้ ทำให้ต้องยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปก่อน (ความคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขจัดระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยวิธีปิดทาง ส.ส.มิให้มีโอกาสเข้าสู่ฝ่ายบริหาร ที่ให้ประชาชนไม่มีอำนาจสูงสุดโดยผ่านการจัดตั้งพรรคเข้ามาบริหารประเทศ และจงใจเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจำโดยเฉพาะจากกระทรวงมหาดไทยและกลาโหมเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง คือห้าม ส.ส. เป็นรัฐมนตรี รวมทั้งนายกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เพื่อสืบทอดประเพณีที่ว่า นายกฯคือมรดกของทหาร)
และทำให้การเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระเจ้าอยู่หัวต้องพลอยเสียบรรยากาศไป ทหารตอบโต้ด้วยการบอกว่าความไร้เสถียรภาพทางการเมืองเป็นข้อพิสูจน์ว่าประชาธิปไตยใช้ไม่ได้ผล และพลเอกชวลิตก็พึมพำว่าประชาชนกำลังร้องขอให้เขาก่อการรัฐประหารเพื่อพลเอกเปรม การทะเลาะวิวาททางการเมืองเงียบเสียงลงไปในช่วงต้นเดือนธันวาคมก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 ปี ขณะที่มีการจุดพลุดอกไม้ไฟที่ญี่ปุ่นจัดให้พุ่งกระจายเต็มท้องฟ้า พลเอกเปรมก็กราบบังคมทูลถวายพระราชสมัญนามพระมหาราชแด่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอย่างเป็นทางการ ประชาชนก็แซ่ซร้องไปทั่วพระราชอาณาจักร โอรสองค์โตของฟ้าชายวชิราลงกรณ์ที่ชื่อจุฑาวัชร ซึ่งอาจมีโอกาสได้เป็นกษัตริย์ในอนาคต ก็บวชเณรที่วัดบวรฯ เมื่อการเฉลิมฉลองเริ่มต้น ใบปลิวโจมตีพระราชวงศ์ก็ถูกแจกจ่ายอย่างเปิดเผยตามสี่แยกต่างๆ โดยถูกสอดไว้ในกล่องไปรษณีย์ในรัฐสภา ถูกถ่ายเอกสารและแฟ็กซ์ไปทั่วประเทศ บางคนวิจารณ์ในหลวงกับพระราชินีสิริกิติ์ตรงๆว่าทรงหวงอำนาจ ส่วนใหญ่มุ่งโจมตีฟ้าชายในเรื่องความประพฤติและเรื่องการเสด็จญี่ปุ่น รวมทั้งการปฏิบัติต่อโสมสวลี และประกาศว่าฟ้าชายไม่เหมาะที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์ ฟ้าชายทรงนำความเสื่อมเสียและขาดสำนึกผิดชอบชั่วดีโดยสิ้นเชิง ถ้าเลือกฟ้าชายประเทศชาติก็จะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และยังโจมตีหม่อมสุจาริณีเรื่องปริญญาปลอมโดยบอกว่ามีการรีบพระราชทานใบปริญญาให้เธออย่างเร่งรีบโดยหวังว่าพระเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดฯแต่งตั้งเธอเป็นเจ้าเต็มตัวในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใบปลิวเหล่านี้ไม่มีการพูดถึงอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง 8 ธันวาคม 2530 ก็ถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล้มล้างของพวกคอมมิวนิสต์ กองทัพและตำรวจประกาศว่าเป็นหลักฐานแสดงถึง ศัตรูกลุ่มหนึ่งของชาติที่เป็นส่วนหนึ่งใน ขบวนการที่จ้องล้มล้างสถาบันกษัตริย์ จริงๆแล้ว ดูเหมือนว่าจะมีหลายกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ที่เป็นผู้ผลิตใบปลิวเหล่านี้ เชื่อกันว่ามีกลุ่มหนึ่งในนั้นอยู่ในฝ่ายโสมสวลี ตำรวจตามล่าจับตัวคนพิมพ์ใบปลิวรายหนึ่ง นักศึกษากลุ่มหนึ่งและพระรูปหนึ่ง ที่ถูกไต่สวนพิจารณาคดีอย่างรวดเร็วและถูกตัดสินจำคุกด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

พระเจ้าอยู่หัวทรงปิดฉากปีแห่งความวุ่นวายนั้นด้วยพระราชพิธีชุมนุมพระบรมวงศานุวงศ์ครั้งใหญ่อย่างพร้อมเพรียงที่เสด็จมากันหมดเพื่อเฉลิมฉลองวาระอันสำคัญ ทรงมีพระบรมราโชวาทย้ำว่าสถาบันกษัตริย์มีความเป็นประชาธิปไตยและพระองค์ทรงเป็นตัวแทนมติเอกฉันท์ (consensus) ของปวงชน “สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่สร้างโดยประชาชนเพื่อเป็นที่พึ่งพาของประชาชน และกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน”
มรว.สุขุมพันธ์เขียนบทความลงในนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง กล่าวถึงความกังวลของประชาชนต่อการที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำท่าจะสละราชบัลลังก์ และพูดถึงใบปลิวที่ออกมาในเดือนธันวาคมว่าทำให้ประชาชนวิตกกังวล ไม่ใช่แค่เรื่องฟ้าชายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการขยายอำนาจมากเกินไปของพระเจ้าอยู่หัวและกองทัพ เขาพูดถึงปัญหาอย่างระมัดระวัง ว่า...
ด้วยบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ความไม่แน่นอนใดๆ เกี่ยวกับอนาคตของกษัตริย์ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกอย่างเลี่ยงไม่พ้น ผู้คนเกิดความสงสัย โดยมากเป็นการพูดคุยส่วนตัว แต่ตอนนี้เริ่มเปิดเผยมากขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพของฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ว่าจะสามารถสร้างความจงรักภักดีจากประชาชนและกลุ่มการเมืองต่างๆ ดังที่พระราชบิดาของพระองค์ได้ทรงกระทำได้หรือไม่และยังคงสงสัยว่า ฟ้าชายวชิราลงกรณ์จะสามารถเทียบชั้นกับพระราชบิดาของพระองค์ได้หรือไม่ สำหรับบทบาทอันแยบยลในทางการเมือง พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นสำหรับพระราชอาณาจักรของพระองค์และราชบัลลังก์ที่พระองค์ทรงสืบราชสันตติวงศ์มาโดยไม่ทันได้ตั้งตัว แต่ด้วยการที่ได้ทรงปฏิบัติอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงสร้างมาตรฐานที่อาจสูงเกินเอื้อมไว้สำหรับผู้ที่จะมารับช่วงต่อ หากการนำโดยสถาบันพระมหากษัตริย์จะย่อหย่อนหรือด้อยลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งในอนาคต ก็จะเกิดผลสะเทือนทางการเมืองอย่างรุนแรง ดุลอำนาจอันง่อนแง่นระหว่างกลุ่มนักการเมืองต่างๆก็จะถูกทำลายไป สุญญากาศที่จะเกิดขึ้นนี้มีแต่กองทัพเท่านั้นที่จะสามารถเติมเต็มได้ ด้วยการที่กองทัพผูกขาดอำนาจปืนความเป็นปึกแผ่น การควบคุมสื่อและการเมืองมวลชนรากหญ้าไว้แต่เพียงผู้เดียว สำหรับคนไทยจำนวนมากแล้ว นี่คือสาเหตุเบื้องลึกที่สุดสำหรับการวิตกกังวล ... แต่ ทั้งพระเจ้าอยู่หัวและพลเอกเปรมเปรมต่างก็ไม่ได้ยอมรับการวิเคราะห์ของมรว.สุขุมพันธ์ กระนั้นเมื่อคำวิจารณ์ของเขาถูกตีพิมพ์ เจ้าหน้าที่วังก็เริ่มพูดว่าในหลวงจะไม่สละราชบัลลังก์อย่างแน่นอน ดูเหมือนว่าพระเจ้าอยู่หัวจะเปลี่ยนพระทัยซึ่งคงเป็นเพราะพฤติกรรมฉาวโฉ่ไม่เอาไหนของฟ้าชายวชิราลงกรณ์ และปัจจัยหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าพลเอกเปรมกำลังถูกท้าทายอีกรอบหนึ่ง พอคล้อยหลังงานเฉลิมพระชนมพรรษา เรื่องทุจริตคอรัปชั่นก็โผล่มาอีกเป็นชุด อธิบดีและข้าราชการระดับสูงในกรมศุลกากรกับสรรพากรที่ควรจะเป็นข้าแผ่นดินที่ซื่อสัตย์สุจริต ก็ดันถูกจับได้ว่าพัวพันกับการลักลอบนำเข้ารถหรู พลเอกเปรมยอมรับใบลาออกของพวกเขา แต่เกิดความสงสัยไปทั่วว่าเขาทำเพียงเพื่อปิดบังเพื่อปกป้องแก๊งค์ลักลอบขนของเถื่อนในกองทัพ เขาไม่ได้จัดการปราบปรามการทุจริต เขาเพียงแต่ขยับตัวไปตามรายงานข่าวแย่ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์เท่านั้น รัฐมนตรีบรรหารกลายเป็นประเด็นฉาวโฉ่อีกครั้งด้วยการกินรวบสัญญาโครงการต่างๆของรัฐบาลเข้ากระเป๋าตัวเอง เมื่อเศรษฐกิจส่อแววจะเสียหายจากการงุบงิบกรณีหนึ่ง กระทั่งภาคธุรกิจเอกชนก็ออกมาโจมตีพลเอกเปรม ที่อับอายขายหน้ามากที่สุดคือเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวพันกับวังและรัฐบาลเปรมเอง แก๊งค์ข้าราชการระดับสูงและพระชั้นผู้ใหญ่ถูกเปิดโปงว่าขายเครื่องราชย์ เรื่องนี้ตั้งเค้ามานาน การมอบเครื่องราชย์ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ยาวนานในการสร้างชนชั้นสูงแวดล้อมวังและขยายวัฒนธรรมวังในแวดวงราชการและธุรกิจ และมันยังเป็นช่องทางการหารายได้สำหรับงานการกุศลของวังด้วย เนื่องด้วยอุปสงค์หรือความต้องการในการบริจาคและความอยากได้เครื่องราชย์มีเพิ่มมากขึ้นวังจึงแบ่งงานการจัดการในเรื่องนี้แก่รัฐบาลและคณะสงฆ์ โดยวัด องค์กรการกุศลและหน่วยงานราชการต่างๆ จะทำหน้าที่รายงานการบริจาคและรายชื่อผู้สมควรได้รับเครื่องราชย์แก่กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะทาหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อและส่งต่อไปยังสานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งสามารถเพิ่มเติมรายชื่อได้ และบัญชีรายชื่อสุดท้ายจะถูกส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการและปกติก็จะได้รับการยอมรับโดยไม่มีคำถามใดๆ โดยที่การมอบเครื่องราชย์ ไม่ได้มีแต่ข้อพิจารณาทางด้านสังคม หากแต่มีด้านเศรษฐกิจด้วยคือดูจากจำนวนเงินที่บริจาค ช่วงต้นทศวรรษ 2520 กระบวนการพิจารณาเรื่องนี้จึงมีความทุจริตคอรัปชั่น สามารถใช้เงินติดสินบนพระและข้าราชการเพื่อปลอมแปลงรายงานการบริจาค เรื่องนี้ถูกเปิดเผยในเดือนธันวาคม 2530 เมื่อข้าราชการชั้นสูงรายหนึ่งในสำนักเลขาธิการนายกฯของพลเอกเปรมฆ่าตัวตาย เขามีหน้าที่รับผิดชอบดูแลตราประทับของวังกับลายเซ็นของนายกฯ และได้ใช้ช่องทางนี้ช่วยให้คนได้รับเครื่องราชย์ การสืบสวนต่อมาพบว่ามีแก๊งค์เครื่องราชย์ อยู่อย่างน้อยสองกลุ่ม ซึ่งพัวพันกับเจ้าหน้าที่ในสำนักเลขาธิการ ของพลเอกเปรมและพระดังรูปหนึ่งของวัดเทพศิรินทร์ อันเป็นวัดหลวงที่อยู่ในแถวหน้าสุด ตำรวจประมาณการว่าเกือบครึ่งหนึ่งของรายชื่อผู้จะได้รับเครื่องราชฯ ในปีนั้นๆเป็นของปลอม โดยแอบอ้างเงินบริจาคมากกว่า 1,500 ล้านบาท งานนี้เปิดเผยให้เห็นว่าการมอบเครื่องราชย์กับวงจรการทำบุญของวังที่เรียกว่าโดยเสด็จพระราชกุศลนั้นตกต่ำเสื่อมถอยเพียงใด และยังชี้ให้เห็นว่าพลเอกเปรมผู้เป็นนายกฯพระราชทานไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนเลยกับการทุจริตคอรัปชั่น (คดีทุจริตเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ใช้เวลาพิจารณาคดีกันนานถึง17 ปี จาก 2531 มาตัดสินฎีกาเมื่อ 27 เมษายน 2548 โดยถูกพิพากษาจำคุก 5 คน ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1,130 ปี จนถึง 2,660 ปี แต่ตามกฎหมายให้จำคุกไม่เกิน 50 ปี จำเลยสำคัญ นายเมธี บริสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีถูกตัดสินจำคุกถึง 1,148 ปี จำเลยที่ 1 พระราชปัญญาโกศลหรือเจ้าคุณอุดมอดีตรองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ที่ลาสิกขาบทออกมาสู้คดีในนามนายผาสุก ขาวผ่องไม่ติดคุก เพราะศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมเสียก่อน แสดงว่าวังก็ไม่ได้มุ่งมั่นที่จะดำเนินคดีนัก ส่วนใหญ่พ้นผิดไปเนื่องจากขาดหลักฐาน แต่มีจำนวนหนึ่งที่ถูกตัดสินจำคุกนานถึงสิบปืเนื่องจากสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์) บารมีของพลเอกเปรมถดถอยลงไปทุกที หลังจากผู้ประท้วงเขื่อนน้ำโจนบีบให้รัฐบาลต้องยอมยกเลิกโครงการเป็นผลสำเร็จ เมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรี มีมติระงับการสร้าง เขื่อนน้ำโจน บริเวณเขาน้ำโจน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี โดยฝ่ายนักอนุรักษ์คนสำคัญ เช่น นายสืบ นาคะเสถียร หมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่ เนื่องจากน้ำจะท่วมใจกลางป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ นับเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งได้รับการประกาศจากองการณ์ยูเนสโกให้เป็น พื้นที่มรดกโลก
ข้อพิพาทเรื่องพรมแดนกับลาวที่คุกรุ่นก็ระเบิดเป็นการสู้รบที่ร่มเกล้า ระหว่างวันที่ 1-19 กุมภาพันธ์ 2531 ที่บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อพล.อ.ชวลิต ผบ.ทบ. ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมากทั้งฝ่ายไทยและลาว และนับเป็นการสูญเสียชีวิตทหารมากที่สุดในการรบของไทยเท่าที่เคยมีมา จากความขัดแย้งเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ในบริเวณดังกล่าวเนื่องมาจากยึดถือเส้นพรมแดนในสนธิสัญญาคนละฉบับการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร และทหารไทยก็พ่ายแพ้ทั้งที่ได้เปรียบในเชิงอาวุธยุทโธปกรณ์ พลเอกชวลิตโดนตำหนิไปเต็มๆ และยังเผื่อแผ่ไปถึงลูกพี่คือพลเอกเปรมด้วย ก่อนที่จะถูกถล่มยับเยินในสภา พลเอกเปรมชิงยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 อย่างน้อยก็ทำให้เขายังได้เป็นประธานในงานเฉลิมฉลองการทำครองราชย์ยาวนานที่สุดกว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด(โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นปู่ที่ครองราชย์ถึง 42 ปี 22วัน)ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2531 ด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมในการสนับสนุนจากวังและกองทัพ พลเอกเปรมได้แสดงเจตนาชัดเจนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปโดยไม่ลงเลือกตั้ง แต่คราวนี้ความสัมพันธ์สามฝ่ายระหว่างพระ